วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความคิดก่อน เลี้ยงปลาอโรวาน่า หรือปลามังกร

เรื่องนี้ค่อนข้างต้องใช้ความไตร่ตรองเหมือนกันนะครับ มีคนตั้งกระทู้ถามผมโดยตรง แถมมีคนถามผมต่อหน้าหลายๆคนเหมือนกันว่า เราจะดูปลาเล็กๆบางตัวรู้ได้ไหมว่า ปลาตัวนี้มัน สั้น ไอ้ตัวกระผมเองนั้นมันก็ไม่ได้เป็นผู้ชำนาญการเรื่องความสั้นเสียด้วย เพราะผมตัวสูงยาว และยาวทุกอย่าง เอาเป็นว่าผมบอกได้เท่าที่รู้แล้วกันนะครับ


สำหรับผมแล้วปลาสั้นแบ่งเป็น 4 แบบ



ทองอินโดช็อตบอดี้





อโรเงินช็อตและคิง

1. ปลาปกติ แต่ สั้น หมายถึง รูปร่างปลาไม่ได้มีส่วนใดที่บอกว่าเป็นปลาพิการเลย แต่ ปลามีลักษณะลำตัวไม่ยาว เกล็ดไม่มีการเบียดชิดติดกันอย่างเห็นได้ชัด จำนวนเกล็ดในแถวที่ 3 มีจำนวน 21-23 แผ่นตามปกติ พวกนี้บางคนจะบอกว่า เลี้ยงเสียข้าวสุก เพราะมันไม่ค่อยจะยาว ออกทางกว้างซะมากกว่า ประมาณ สั้นป้อม

2. ปลาไม่ปกติ สั้นอย่างเดียว หมายถึง รูปร่างปลาเป็นตัวบ่งบอกว่า ปลาตัวนี้มีลักษณะพิการชัดเจนเช่น ลักษณะเกล็ดเบียดเข้าหากันอย่างเห็นได้ชัด ลักษณะการเบียดของเกล็ดจะเกิดขึ้นได้ ทั้งตัวปลา หรือ บางช่วงเช่น ช่วงท่อนหน้า ท่อนกลาง หรือท่อนหลังของลำตัว ที่ลักษณะนี้ที่สั้นแล้วดูสวยจริงๆ คือ สั้นท่อนหน้านะครับ จำนวนแผ่นเกล็ดในแถวที่3 มีจำนวน 21-23 แผ่นเท่าปลาปกติ หรือ อีกประเภท สั้นโดยมีการเรียงตัว และจำนวนแผ่นเกล็ดแถวที่3 น้อยกว่า 21-23 แผ่น ปลาลักษณะนี้ก็เป็นที่สังเกตเห็นได้ง่ายๆเช่นกัน

3. ปลาไม่ปกติ ไม่แค่สั้นเท่านั้น แต่หลังค่อมด้วย หมายถึง รูปร่างปลามีลักษณะพิการชัดเจน คือ มีกระดูกสันหลังที่ตั้งชันขึ้นไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกับกะโหลก ลักษณะเช่นนี้ส่วนมากเกล็ดบริเวณที่ตั้งชันขึ้นนั้นจะเบียดชิดติดกันทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า สั้น แต่ ในปลาหลังค่อมหลายๆตัว ก็ไม่ได้มีลักษณะสั้นติดตัวมาด้วยนะ

4. ปลาปกติ ที่ไม่ปกติ หมายถึง ปลาที่มีแนวเกล็ดบนหลังผิดแปลกไป อาจมีลักษณะแนวกระดูกสันหลังที่ผิดแปลกไปด้วย ทำให้ตอนเล็กๆ ดูว่ามีแนวโน้มว่าเป็น ปลาสั้น แต่ส่วนมาก ปลาลักษณะนี้พอโตขึ้นจะไปเข้าลักษณะข้อที่ 1 ซะเป็นส่วนมาก จะหายากมากๆ ที่เข้าในลักษณะข้อที่ 2 และ 3





ทองอินโดช็อตบอดี้ในวัยเด็ก(ไม่ใช่ตัวบนสุดนะ)

เมื่อพิจารณาจาก ลักษณะปลาสั้นข้างต้นแล้ว เราพอแยกออกได้นะครับว่า ข้อที่ 1 และ 4 ไม่สามารถเรียกได้ว่า Shotbody มีเพียงข้อที่ 2 และ 3 เท่านั้นที่ เรียกได้ว่า Shortbody และบางกรณีจะเรียกว่า King อีกต่างหาก

หากมาดูในตลาด จะมีบางร้านอ้างว่า ปลาบางตัวมีลักษณะ Shotbody ก็จะตั้งราคาขายที่สูงกว่าปกติ ขึ้นอยู่กับว่า ลักษณะที่เห็นก้ำกึ่งแค่ไหน ถ้าชัดเจนมากราคาก็อาจเป็น 2เท่าของราคาปกติ แต่ถ้าไม่ชัดเจนมากพอก็อาจมีราคาเพิ่มขึ้นมาอีก 20-40% ของราคาปกติ และบอกให้ลูกค้าเอาไปลุ้นกันเอง

วิธีการเลือก ก็อย่างที่บอกนะครับ ถ้าดูแล้วเข้าลักษณะ ข้อ2 และ 3 ก็รีบเอาเงินให้คนขายทันที แต่ถ้าเข้าลักษณะข้อ1 และ4 ก็ควรจะช่างใจสักเล็กน้อยนะครับว่า เราหวังจะได้ปลาแบบนั้นจริงๆหรือเปล่า

ขอบอกหน่อยนะครับ หากคิดสั้นจะเลี้ยงปลาสั้นพิการแบบนี้ หรือไม่ว่าแบบใดก็ตาม คงต้องทำใจรับสภาพของความผิดปกติที่อาจตามมาได้นะครับ ที่เห็นมากคือ อาการหลังลอยพ้นน้ำ หากเกล็ดเบียดด้านหน้ามากๆ ก็ต้องระวังอาการเหงือกบาน และที่สำคัญ ปลาพวกนี้หนีไม่พ้นอาการปากยื่นครับ





บทความนี้ขออุทิศให้แก่ช็อตบอดี้ตัวนี้ครับ



จะเห็นได้ว่า ลักษณะของปลาแต่ละตัวที่ผมนำมาให้ดู มีลักษณะเด่นพิเศษอยู่นั่นคือ เมื่อคุณเห็นในครั้งแรก คุณจะบอกได้ทันทีว่า ปลามันคือ ช็อตบอดี้ จริงๆ นั่นคือหัวข้อสำคัญ ถ้าหากคุณต้องพิจารณาว่าปลามันสั้นหรือไม่ แล้วมันสั้นตรงไหน แปลว่าปลาตัวนั้นเป็นแค่ปลาปกติ ที่อาจดูสั้นเท่านั้นเอง

ที่มาจาก http://www.arowanacafe.com/articles/view.php?section=2&id=89
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ปลามังกร ข่าวสารจากทุกมุมโลก

Add to Google Reader or Homepage