วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

Review Sianlon Aquatic Arowana ประเทศมาเลย์เซีย

สวัสดีครับเพื่อนๆ คนรักปลาทุกคนครับ วันนี้ผมเองกำลังสนใจฟาร์มจากมาเลย์เซียแห่งนึงอยู่ เป็นฟาร์มที่มีคนพูดถึงเยอะมาก แต่เหมือนว่าหลายท่านอาจจะยังไม่รู้เรื่องของความเป็นมาเลยในฟาร์มนี้ ผมเลยไปหาข้อมูลมาเท่าที่จะหามาได้ครับซึ่งได้ข้อมูลมาจากตัวแทนของ ที่อยู่ในประเทศไทยนี่เองครับ เค้าคือคุณแชมป์ จาก Arowanamania นี่เอง ฟาร์ม Sianlon นั้นได้เริ่มเปิดฟาร์มตั้งแต่ ปี คศ 197x (โอ้ว 20 - 30 ปีเชียวหรอเนี่ย)ซึ่งเริ่มทำกิจการปลาจากปลาหางนกยูง และ เป็นเจ้าแรก จด CITES ในมาเลย์
Sianlon Aquatic



ปลาเด่นของฟาร์มนี้ได้แก่
-Malaysia Golden(crossBack)
-First Grade Red
-High Back Golden
-Second Grade Red
-Green Arowana
-Silver Arowana

ขณะนี้ ทาง Sianlon Aquatic เองได้ส่งออกปลาอโรวาน่าเกรดสูงไปยังประเทศ ไทย ญี่ปุ่น แคนนาดา และอื่นๆอีกมากมาย

ข้อมูลจาก http://www.arowanamania.com/
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

Imperial Breeding Farm Arowana

ถ้าพูดถึงปลาอโรวาน่าตัวสีทอง เงาๆ สวยๆ หรือปลาแดงที่สีจัดจ้าน Super Red แล้วหละก็คงมีหลายท่านนึกถึง ฟาร์มจากสิงคโปรเจ้านี้แน่ๆครับ Imperial Breeding Farm จาก blog ที่แล้วได้เห็นไปแล้วถึงความสวยงามที่ทาง ShowaArowana และ Arowana King ได้นำเข้ามากันบ้างแล้ว คราวนี้มาดูกันดีกว่าครับว่าความเป็นมา Imperial Breeding Farm เค้ามายังไงกัน

Imperial ได้ก่อตั้งขึ้นโดยMr. Vincent Chong (วินชง) ในปี 2003 (7 - 8 ปีแล้วสินะเนี่ยโอ้ว) ได้การรับรองฟาร์มคุณภาพ Asian Arowana จาก CITES เพื่อการส่งออกไปทั่วโลก


 Mr. Vincent Chong เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงทางด้านปลา อโรวาน่า (arowana) มาก ในเรื่องของปลาอโรวาน่าแดง Super Red, ซึ่งมีการสร้างแบรนเฉพาะขึ้นมาเป็นของฟาร์มตนเอง จนทำให้เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก สำหรับผู้ที่ชอบอโรวาน่าแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จัก

และตอนนี้ทาง Imperial Breeding Farm ความได้มีชื่อในการพัฒนา อีกหลายสายพันธุได้แก่ Xback Arowana , RTG , Banjar Red ซึ่งได้จดทะเบียนกับทาง CITES ใน สิงคโปร / มาเลเซีย และ อินโดนิเซีย
ซึ่งที่กล่าวข้างต้นมานั้นล้วนแล้วแต่เป็นอโรวาน่าที่มีคุณภาพสูงทั้งสิ้น

VIP GOLDEN HEAD



 Vip red



บางอย่างถ้า Review ผิดพลาดอันใดต้องขออภัยด้วยนะครับ ^^ ครั้งหน้าอาจจะนำรายละเอียดผู้นำเข้ามาให้ชมกันนะครับ
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

Update ราคาอโรวาน่าของ Imperial Breeding Farm

Imperial Breeding Farm นำเข้าโดยคุณเติ้ง ShowaArowana
ได้นำข้อมูลอ้างอิงมาจาก เว็บ Aro4u ครับ

1. VIP Cross Back Golden (ทองมาเลย์เกรดเริ่มต้น ราคาที่ไซส์แรกซื้อ 5"-6" ประมาณ 3x,xxx)
(ทองมาเลย์เกรดเริ่มต้น และ/รวมถึง ทองมาเลย์เกรดธรรมดาทั่วไป) – ที่ไซส์แรกซื้อขนาด 5”-6” มีการเปิดของเกล็ดแถวที่ 5 ให้เห็น แต่อาจจะไม่เต็มแผ่นเกล็ด และอาจยังไม่มีการเปิดของเกล็ดละเอียดให้เห็น (ถ้าข้ามหลัง หรือหัวทอง ในวัยนี้อาจเป็นไปได้ว่าจะมีการถอยคืนเพราะเป็นการข้ามขั้น)2. VIP Full Gold Cross Back (ทองมาเลย์คุณภาพสูง ราคาไซส์แรกซื้อ 5"-6" ประมาณ 4x,xxx - 5x,xxx บาท)
(ทองมาเลย์คุณภาพสูง และ/รวมถึง ทองมาเลย์คุณภาพสูงจากฟาร์มอื่นๆ) – ที่ไซส์แรกซื้อขนาด 5”-6” จะมีการเปิดของเกล็ดแถวที่ 5 แบบชัดเจน ตัวสวยจะเปิดเต็มแผ่นเกล็ด และมีการเปิดของเกล็ดละเอียดให้เห็น แต่อาจจะยังไม่หมดจดเต็มอนู เต็มพื้นที่ (สำหรับปลาเกรดนี้ แม้หากมองจากด้านบนเห็นว่ามีการข้ามหลัง หรือหัวทองแล้ว ก็ยังมีโอกาสเป็นไปได้ว่าจะมีการถอยคืนเพราะยังถือเป็นการข้ามขั้นอยู่)




3. VIP 24K Premium Grade Cross Back Golden (ทองมาเลย์เกรดคัดพิเศษ ราคาไซส์แรกซื้อ 7"-8" ประมาณ 6x,xxx บาท) และ
(ทองมาเลย์เกรดคัดพิเศษ และ/รวมถึง ทองมาเลย์เกรดคัดพิเศษจากฟาร์มอื่นๆ) – ที่ไซส์แรกซื้อขนาด 7”-8” ขนาดตัวจะใหญ่ขึ้น ให้เห็นคุณสมบัติชัดเจนขึ้น แน่นอนว่าปลา “ระดับเกรดพิเศษนี้” จะต้องมีการเปิดของเกล็ดแถวที่ 5 แบบชัดเจน เต็มแผ่นเกล็ด มีการเปิดของเกล็ดละเอียดแบบชัดเจนไม่ต้องลุ้น ไม่ต้องส่อง ไม่ต้องก้มๆ เงยๆ เห็นได้แบบอยู่ตรงหน้า พร้อมด้วยการเริ่มข้ามหลัง และมีคุณสมบัติหัวทองบางส่วน 10-30% (สำหรับปลาเกรดนี้โอกาสถอยคืนจะมีน้อยลงมากเพราะถือเป็นการได้คุณสมบัติมาแบบเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ข้ามขั้น)




4. VIP Golden Head Cross Back (ทองมาเลย์ระดับหัวทอง ราคาไซส์แรกซื้อ 7"-8" ประมาณ 9x,xxx - 1xx,xxx บาท ขึ้นอยู่ระดับเนื้อที่หัวทองบนหัว)
(ทองมาเลย์ระดับหัวทอง และ/รวมถึง ทองมาเลย์ระดับหัวทองจากฟาร์มอื่นๆ) – ที่ไซส์แรกซื้อขนาด 7”-8” ขนาดตัวจะใหญ่ขึ้นไม่ต่างจากระดับเกรดพิเศษ (GH Xback ปัจจุบันถือเป็นทองมาเลย์ระดับสูงสุดของแต่ละฟาร์ม) ให้เห็นคุณสมบัติชัดเจนขึ้น แน่นอนว่าปลาที่สูงกว่า “ระดับเกรดพิเศษ” อย่างนี้จะต้องมีการเปิดของเกล็ดแถวที่ 5 แบบชัดเจน เต็มแผ่นเกล็ด + เกล็ดละเอียดเปิดเต็มทุกอนู + ข้ามหลัง + คุณสมบัติหัวทองไม่น้อยกว่า 30% (ปลาเกรดนี้ถือเป็นปลาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามตัวปลา ไม่ใช่ตามใบเซอร์ จะมีโอกาสถอยคืนน้อยมากทีสุดแม้จะมาจากสภาพแวดล้อมขาวแล้วนำมาเลี้ยงในตู้สภาพแวดล้อมดำภายหลัง)







ข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ถือเป็นเพียงแนวทางการดูปลาในทองมาเลย์ในสาย VIP แต่ละระดับนะครับ (รวมถึงโดยทั่วๆ ไปจากฟาร์มอื่นด้วย) อย่าลืมว่าอย่านำไปใช้หรือยึดถือเป็นบรรทัดฐาน เพราะหลายๆ ครั้งหลายๆ เวลาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ไม่มีอยู่จริง “ความพิเศษ” ที่เกิดขึ้นก็แค่เพียงตามชื่อที่ระบุในใบรับรองสายพันธุ์เท่านั้น โดยที่ตัวปลาไม่ได้ให้ความร่วมมือแต่อย่างใด


ที่มา Aro4u & ShowaArowana
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/





วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

หลอดUV หลอดฆ่าเชื้อ UV ดีอย่างไรกับปลาของเรา

หลักการใช้หลอดอัลตราไวโอเล็ตหรือหลอดยูวี (UV)ให้ได้ผล คือ ความเข้มของแสงยูวี (มีหน่วยเป็น mW/cm2 -มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร) ต้องมากเพียงพอที่จะฆ่าสิ่งมีชีวิต ที่ก่อให้เกิดโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัว เป็นต้น ที่มาพร้อมกับน้ำที่ผ่านมาในเครื่องยูวี

สำหรับความเข้มข้นหรือ “โดส” (มีหน่วยเป็น mW-s/cm2-มิลลิวัตต์-วินาทีต่อตารางเซนติเมตร) ที่ต้องใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรค ชนิดที่ตัวเล็ก ตายง่ายก็ใช้โดสต่ำ เช่น พวกแบคทีเรีย ไวรัส (ไวรัสบางชนิดต้องใช้โดสสูงมาก) ชนิดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็ใช้โดสสูงตามขึ้นมา เช่น พวกโปรโตซัว ที่ทำให้เกิดโรคจุดขาว
ตัวอย่าง โดส ที่ใช้กำจัด สาหร่าย แบคทีเรีย ไวรัส ยีสต์ ส่วนใหญ่ และโปรโตซัวขนาดเล็กบางชนิดไม่ควรต่ำกว่า 30 mW-s/cm2

โดสที่ใช้กำจัดตัวอ่อนของโปรโตซัว โรคจุดขาว อยู่ที่ 200-300 mW-s/cm2
เมื่อผู้ใช้ต้องการทราบว่าแล้วจะเลือกใช้อย่างไร จริงๆแล้วคำตอบนี้ต้องมาจากผู้ผลิต เพราะผู้ผลิตต้องเป็นผู้กำหนดอัตราการไหลของน้ำ มาพร้อมกับเครื่องว่าควรใช้อัตราการไหลผ่านที่เท่าไรในการกำจัดเชื้อโรคชนิดต่างๆ แต่สวนใหญ่แล้วจะพบว่ามักจะไม่มีให้มา มีแต่อัตราการไหลบนกล่องซึ่งมากมายมหาศาล ซึ่งเป็นอัตราที่มักจะใช้สำหรับการกำจัดแบคทีเรียที่ตายง่ายๆ เช่น พวก E. coli หรือสาหร่ายในน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำเขียว ซึ่ง โดสที่ใช้แค่ 0.6-20 mW-s/cm2 เท่านั้น
อีกทั้งเครื่องยูวี ที่ผลิตมาแต่ละบริษัทจะมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน ซึ่งความแตกต่างขึ้น กับ ชนิดของหลอด เช่น หลอดความดันต่ำ หรือหลอดแรงดันปานกลาง ความยาวของหลอด วิธีการออกแบบให้น้ำผ่านหลอด ความหนาของชั้นน้ำที่ไหลผ่านหลอด เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของเครื่องยูวี และอัตราการไหลที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดเชื้อโรคชนิดต่างๆ
แล้วจะทำอย่างไรหากผู้ผลิตไม่ได้ให้ตัวเลขอัตราการไหลของน้ำผ่านหลอดที่ระดับต่างๆในการกำจัดเชื้อโรคแต่ละชนิดมาให้ คงจะต้องตอบว่า ต้องประเมินค่าอย่างกลางๆ และเผื่อโดสเอาไว้
ตัวอย่างเช่น หลอด ขนาด 25 วัตต์ อัตราการไหลของน้ำไม่ควรมากกว่า 650 ลิตรต่อชั่วโมง จึงจะมีโดสเท่ากับ 30 mW-s/cm2 นั่นหมายความว่าจะช่วยกำจัดสาหร่าย แบคทีเรีย ไวรัส ยีสต์ ส่วนใหญ่ และโปรโตซัวขนาดเล็กบางชนิดได้
ในกรณีที่คุณระบุมาว่ามีหลอดขนาดเพียง 15 วัตต์ นั้น และใช้อัตราการไหลถึง 1,200 ลิตรต่อนาทีนั้น เท่ากับคุณไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลอดดังกล่าวเลย
ตู้ขนาด 1,200 ลิตร ที่เหมาะสมควรจะใช้ หลอดขนาด 30 วัตต์ ที่อัตราการไหลผ่านของน้ำผ่านหลอดยูวีไม่มากกว่า 850 ลิตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถกำจัด สาหร่าย แบคทีเรีย ไวรัส ยีสต์ ส่วนใหญ่ และโปรโตซัวขนาดเล็กบางชนิดได้ ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขกลางๆ เนื่องจากขึ้นกับคุณภาพของเครื่องที่คุณซื้อมาด้วยครับ
วิธีการคำนวณนั้นไม่ง่ายครับ สูตรตามนี้ครับ

UV dose = (UV intensity) (exposure time) (transmittance factor)




ข้อควรทราบ

1. หลอดยูวี ถึงแม้จะมีแสงอยู่แต่ประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคจะลดไปตามอายุหลอด โดยทั่วไป 8 เดือน ควรเปลี่ยนใหม่

2. น้ำที่ไหลผ่านหลอดยูวีต้องมีความใสสะอาด เพราะจะตะกอนหรือน้ำที่เหลืองจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง

3. ในกรณีที่มีกระเปาะแก้ว (Quartz sleeve) กั้นหลอดกับน้ำต้องทำความสะอาดกระเปาะแก้วบ่อยๆ

ที่มาจาก http://www.bims.buu.ac.th/
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

รับมือเมื่อไฟฟ้าดับ ตู้อโรวาน่า

พร้อมรับสถานการณ์ไฟดับ (รูปประกอบยังไม่ครบ)โดยปกติแล้วเราไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องไฟฟ้าดับเลยนะครับ ถ้า...เรามีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำเรามีปลาในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือหนาแน่นจนเกินไป

เราไม่มีปลาที่ต้องการปริมาณอ็อกซิเจนละลายในน้ำสูง เช่น ปลากระเบน หรือแคทฟิชราคาแพงเป็นต้น
โดยปกติแล้วปลาทั่วไปสามารถทนอยู่ในตู้ที่ไม่มีการหมุนเวียนของน้ำและไม่มีการให้อากาศได้นานพอควร

ถามว่าแล้วนานแค่ไหน ก็ตอบได้ว่านานกว่าที่เราคิดนะครับ ดังนั้นจริงๆแล้ว เมื่อไฟฟ้าดับเราก็ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น แค่รอให้ไฟฟ้ามาเท่านั้น
ถ้าเราต้องการเตรียมพร้อม สิ่งของจำเป็นสำหรับเวลาไฟดับคือ

1 ปั้มลมสำรองไฟ โดยทั่วไปจะเป็นปั้มที่มีแบตเตอรี่พ่วงอยู่ภายใน ในกรณีที่ไฟฟ้าดับระบบจะสลับไปใช้ไฟจากแบตเตอรี่แทน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงควรตรวจเช็กสภาพของแบตเตอรี่ให้พร้อมเสมอ โดยการดีสชาร์ทแบตเตอรี่ทุกๆ2-3เดือน เพียงดึงปลั๊กไฟออกแล้วให้ปั้มทำงานโดยแบตเตอรี่ทิ้งไว้ 15-30นาทีแล้วเสียบปลั๊กกลับเข้าที่ และควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ทุกๆ 1-1.5ปี

2 ปั้มลมแบบใช้ถ่านไฟฉาย ควรมีติดบ้านไว้อย่างน้อยตู้ละ1เครื่อง เป็นอุปกรณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นมากชิ้นหนึ่งทีเดียว หลังจากที่ใส่ถ่านลงไปแล้ว ในเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้ถ่านไฟฉายคุณภาพสูงปั้มลมจะจ่ายลมได้นานถึง 48ชั่วโมงเลยทีเดียว


3 ปัจจุบันมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องสำรองไฟอัตโนมัติซึ่งเป็นเหมือนตู้ไฟแบบหนึ่งประกอบด้วยแผงอิเลคโทรนิก และตัวควบคุมการปล่อยกระแสไฟจากแบตเตอรี่ โดยสามารถสำรองไฟให้กับระบบของตู้ปลาหรือบ่อปลาได้ทั้งระบบ ทั้งปั้มน้ำ ปั้มลม ความสามารถในการสำรองไฟก็ขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่ แต่ยังคงมีราคาที่สูงมากจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในบ้านที่มีตู้ปลาจำนวนน้อย แต่เหมาะกับบ่อปลาหรือฟาร์มปลามากกว่า

อาการไฟฟ้าดับแยกเป็น 2ประเภท


1 ไฟฟ้าดับโดยการไฟฟ้าแจ้งล่วงหน้า ในกรณีนี้ง่ายมาก ก่อนวันไฟดับ 2-3 วันให้ทำการงดอาหารปลาทั้งหมด และทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 20% ในวันก่อนวันไฟดับ 2-3วัน และเปลี่ยนน้ำอีกครั้งก่อนวันไฟดับ1-2วันอีก 15-20% ทั้งหมดนั้นทำเพื่อรักษาระดับความสะอาดของน้ำและเพิ่มปริมาณอ็อกซิเจนนั่นเอง

การงดอาหารล่วงหน้า เพื่อเป็นการลดของเสียในระบบ และการเปลี่ยนถ่ายน้ำก่อนไฟดับ เพื่อเป็นการกำจัดของเสียออกจากระบบ เพื่อเพิ่มคุณภาพน้ำให้ปลาทนต่อสภาวะการไม่มีน้ำหมุนเวียนและไม่มีการเติมอากาศนั่นเอง การทำแบบนี้สามารถทำให้ปลาทนอยู่ได้อย่างน้อย 5ชั่วโมง แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับปริมาณปลาและขนาดของตู้ เมื่อเราทำการเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาแล้ว เมื่อไฟดับปั้มสำรองไฟทำงาน ทุกอย่างก็จะไม่มีปัญหา หรือเราจะจุ่มหัวทรายเพิ่มโดยใช้ปั้มลมแบบถ่านไฟฉายช่วยอีกตัว ก็ได้ หรือเพิ่มเข้าไปในช่องกรองก็สามารถรักษาระบบกรองไว้ได้ระดับหนึ่ง

2 ไฟฟ้าดับโดยอุบัติเหตุไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ในกรณีแบบนี้ค่อนข้างฉุกละหุกทีเดียว เราคงไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งปั้มลมสำรองไฟ ซึ่งจะใช้ได้ดีหรือไม่ก็อยู่ที่การบำรุงรักษาของเราเองครับ

สุดท้ายก็ต้องพึ่งปั้มลมแบบใช้ถ่านด้วยก็ดี วางไว้ข้างๆตู้ ถ้ามีปัญหาก็สามารถหยิบใช้ได้ทันที

* เราไม่ควรใช้ อ็อกซิเจนผงในการเพิ่มอ็อกซิเจนในน้ำนะครับ เป็นอันตรายสำหรับอโรวาน่าอย่างยิ่ง*

ที่มาจาก http://www.arowanasociety.com/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=13
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

เริ่มจำหน่ายแล้วกับ BANGKOK AROWANA BREEDING FARM

ในวงการฟาร์มปลาอโรวาน่าในไทยเริ่มคึกคักเพราะเริ่มผลิตได้เองแล้ว วันนี้เลยนำรูปบางส่วนมาให้ชมว่า BANGKOK AROWANA BREEDING FARM ได้ทองมาเลย์ที่ผลิตออกมาเองสีสันเป็นอย่างไร และรูปร่างดีแค่ไหน ลองดูกันครับ









เป็นยังไงบ้างครับ กับปลาที่เกิดจากความมุ่งมั่นและชื่นชอบของคนไทยคนนึง และหวังไว้ว่า Arowana หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากว่าปลามังกร (อโรวาน่า) นั้นเพื่อนๆคนไทยจะสามารถนำมาครอบครองกันง่ายขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าอโรวาน่าอย่างที่ผ่านมาอีก

ที่มา http://www.bangkokarowana.com/
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

ฟาร์มอโรวาน่า อันดับต้นๆของไทย BANGKOK AROWANA BREEDING FARM

ความเป็นมา
ด้วยรักและความท้าทาย จุดเริ่มต้น BANGKOK AROWANA BREEDING FARM ประมาณปี 48 มีเพื่อนชาวไต้หวันที่มาอยู่ในเมืองไทย ได้ถูกเชิญไปรับตำแหน่งที่ประเทศจีน แต่เพื่อนผู้นี้ไม่สามารถที่จะนำพาปลา AROWANA ซึ่งเลี้ยงเอาไว้ 2 ตัว

(ทองมาเลย์และแดงอินโด) ไปที่ประเทศจีนได้ จึงได้มอบให้ผมเป็นผู้รับภาระดูแลต่อ พร้อมกับหนังสือเกี่ยวกับปลา AROWANA อีกจำนวนหนึ่ง ครั้งแรกในชีวิตที่ได้เห็นปลา (แดงและทอง) ก็รู้สึกชื่นชอบและเริ่มหลงไหล นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยรู้จักปลา AROWANA มาก่อนเลย

เมื่อได้ปลามาอยู่ในความดูแลแล้วก็เริ่มศึกษาจากหนังสือปลา ยิ่งอ่านก็ยิ่งเพลิดเพลิน มีอะไรที่ไม่เข้าใจ ก็จะโทรถามเพื่อนที่ประเทศจีน หรือ ไม่เพื่อนก็จะโทรมาถามเกี่ยว กับเรื่องปลาทั้ง 2 ตัว เพื่อนห่วงเพราะเป็นมือใหม่หัดเลี้ยง นานวันเข้าปลาที่เลี้ยงก็เริ่มซื้อเพิ่มมากขึ้น ตู้ปลาก็เริ่มมากขึ้น บ่อปูนก็เริ่มมีมากขึ้น ถึงขนาดมีโครงการจะทำบ่อปูนขนาดใหญ่ บนดาดฟ้าที่บ้าน แต่ไม่ได้ทำเพราะกลัวดาดฟ้ารับน้ำหนักไม่ไหว

ปี 50 มีผุ้ใหญ่ท่านหนึ่งพูดไว้ว่า ปลา AROWANA เป็นปลาที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำไมเราไม่คิดที่จะเพาะพันธุ์ ถ้าสำเร็จเราก็จะไม่ต้องเสียเงินตราให้กับต่างประเทศ นับว่าเป็นการช่วยประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย คำพูดเพียงแค่นี้เองทำให้ผมมุ่งมั่นที่จะเริ่มเพาะพันธุ์และเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ ประกอบกับได้รู้จักกับ คุณไพโรจน์ และทีมงาน ซึ่งได้ช่วยคัดสรร พ่อ - แม่ พันธุ์ปลาทองมาเลย์ ทองอินโด และ แดงอินโดมาให้ ซึ่งผมขอขอบคุณ คุณไพโรจน์ และทีมงาน มา ณ ที่นี้ด้วย

ปี 51 เริ่มหาซื้อที่ดิน จุดแรกคือ ปทุมธานี - นครนายก เพราะมีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ และมีน้ำตลอดทั้งปี ขับรถจากอ่อนนุช เช้าไปเย็นกลับ เกือบ 1 เดือน เริ่มเหนื่อยและเริ่มท้อ เพราะที่สวย น้ำดี ที่ดินแพงมากๆ ถ้าจะหาที่ดินถูกหน่อย การคมนาคมก็ไม่สะดวกและผมต้องขับรถทุกวัน เริ่มมีความรู้สึกว่าไกลเกินไป ที่จะต้องขับรถ เช้าไป - เย็นกลับ จุดที่สองคือ ราชบุรี เพราะว่า ราชบุรี คือแหล่งเพาะพันธุ์ปลาสวยงามที่ทุกคนรู้จัก ผมขับรถ ไป - กลับ เพื่อหาที่ดิน เพียงแค่อาทิตย์เดียวก็เริ่มรู้สึกว่าร่างกายไม่ไหวแล้ว สุดท้ายลองขับรถวิ่งทาง ถ.อ่อนนุช แปดริ้ว ไปเรื่อย ๆ ขับรถทุกวันแต่ก็ไม่รู้สึกเหนื่อย เพราะว่าถนนทั้งสองข้างทาง มีต้นไม้และนาข้าวเขียวขจีไปหมด เริ่มรุ้สึกชอบและสดชื่น ที่ได้เห็นทิวทัศน์ตามเส้นทาง ผลสุดท้ายมาตกลงได้ที่ดินที่ ต.บางเตย อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ไกลจากบ้านที่อยู่ประมาณ 40 กม. ขับรถไป - กลับ ไม่เหนื่อย ราคาที่ดินก็ไม่แพงมาก จำนวน 11 ไร่ แต่แหล่งน้ำไม่ค่อยดี ในใจคิดว่า แล้วค่อยขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้ทดแทน

24 มีนา 51 ตกลงซื้อขายที่ดินเรียบร้อยหน้ากว้าง 60 เมตรติดถนนราดยาง ลึก 320 เมตร 3 ไร่ ด้านหน้าคือบ่อเลี้ยงกุ้ง พื้นที่ด้านหลังที่เหลือปลูกข้าวมีต้นข้าวสูงประมาณ 1 ฟุตเขียวขจีไปหมด คนโบราณว่าไว้ว่าห้ามทำลายพระแม่โพสพ ผมจึงรอให้เจ้าของเดิมเก็บเกี่ยวนาข้าวให้เรียบร้อยเสียก่อน
เดือนมิถุนา 51 เริ่มถมบ่อเลี้ยงกุ้งเดิมจำนวน 2 ไร่ เพื่อที่จะสร้างโรงเรือนพร้อมเป็นที่พักของพนักงาน ถัดจากโรงเรือนด้านขวามือ ขุดบ่อ 15 X 30 เมตร จำนวน 2 บ่อ ด้านซ้ายมือขุดบ่อเล็ก 10 X 20 ลึก 2 เมตร จำนวน 5 บ่อ ตรงกลางเป็นถนน 8 เมตร ปลายถนนขุดบ่อเก็บน้ำ 40 X 40 ลึก 7 เมตร เนื้อที่ด้านในสุดอีก 5 ไร่ ยังไม่ใช้ ช่วงเดือน 2 เดือนเป็นช่วงฤดูฝน งานก่อสร้างโรงเรือนและงานขุดบ่อ รวมทั้งงานรั้วล้อมรอบ ดำเนินไปได้ช้ามาก กว่าจะแล้วเสร็จ ก็เกือบสิ้นเดือนตุลาคม



ที่มา http://www.bangkokarowana.com/
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

ปลามังกร ข่าวสารจากทุกมุมโลก

Add to Google Reader or Homepage