วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จำนวนหลอดไฟที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาสีแดง ( อโรวาน่าแดง Red Arowana )

เพื่อนนักเลี้ยงปลาหลายท่านที่เลี้ยงปลาสีแดง เมื่อซื้อมาเลี้ยงก็ต้องตั้งความหวังไว้ว่าปลาของตัวเองนั้น ต้องแดงสู้ของเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ ได้ แสงจากหลอดไฟเป็นหนึ่งในปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ปลาพัฒนาสีของตัวเองดีขึ้น


ที่ว่าเป็นเพียงแค่ 1 ในปัจจัยหลายอย่างนั้นก็เพราะว่าเราไม่สามารถใช้ไฟอย่างเดียวเพื่อให้ปลาแดงได้ ปัจจัยอื่น เช่น สายพันธุ์ อาหาร สภาพแวดล้อมในตู้ อุณหภูมิ สภาพทางเคมีของนำในตู้ เช่นความเป็นกรด-ด่าง หรือปริมาณไนท์ไตรท์ หรือกระทั่งสิ่งรบกวนต่าง ๆ ภายนอกตู้เช่น หมา แมว หรือกระทั่งเด็กที่มาเล่นอยู่หน้าตู้ ทุกอย่างนี้ล้วนแต่มีผลต่อการพัฒนาสีของปลา

ผมจะกล่าวถึงเฉพาะส่วนของหลอดไฟก่อน ว่าปริมาณที่ควรใช้อยู่ที่กี่หลอดต่อตู้ดี พื้นฐานทุกอย่างทั้งหมดนั้น อยู่ที่ความพอดีครับ มากไปหรือน้อยไปก็ไม่ดี แล้วเท่าไหร่หละถึงจะพอดี

จากการทดลองของผมเอง โดยการใช้หลอดไฟ 17000 K ทดลองกับปลาอโรวาน่าแดงขนาดประมาณ 12 นิ้ว ในตู้แบ็คกราวด์สีดำรอบด้าน ยกเว้นด้านหน้า ระบบกรองเป็นกรองใต้ตู้ เปลี่ยนน้ำอาทิตย์ละครั้ง ในปริมาณ 10%

เนื่องจากในตอนแรกเลยตู้ที่ใช้เลี้ยงนี้มีปัญหาเรื่องซิลิโคนเสื่อมสภาพ เริ่มมีอาการล่อน เห็นเป็นฟองอากาศ ผมเลยตัดสินใจให้ช่างมาซ่อมดีกว่า ดังนั้นปลาตัวนี้จึงต้องย้ายมาอยู่ในตู้ใส ทำให้สีที่เคยมีแววดี กลับถอดหมดจนซีด ซึ่งผมว่าก็ดีครับ ถือว่าเป็นการนับ 1 กันใหม่เลย

ขนาดตู้ 72 x 30 x 30 นิ้ว ผมใช้หลอด 17000 K ขนาด 36 วัตต์ จำนวน 2 หลอด ความยาวของหลอดแค่ 48 นิ้ว เมื่อเทียบกับขนาดตู้ 72 นิ้ว ทำให้เหลือเงาดำที่ของทั้ง 2 ด้านของตู้ ซึ่งผมว่าเป็นการดีต่อปลา เพราะว่าผมเปิดไฟตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าปลาต้องการหลบแสงบ้าง ก็ยังมีบริเวณเงานั้นให้หลบบ้าง

จากการทดลอง เวลาผ่านไป 10 วัน ปลามีการพัฒนาของสีดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ที่ผ่านมาผมมีการทดลองในตู้ขนาดต่างจากนี้หลายใบด้วยกัน ทำให้พอทราบว่า ตู้ขนาดความกว้างไม่เกิน 20 นิ้วนั้น เราใช้หลอดไฟ 1 หลอด แสงของหลอดก็สามารถกระจายได้เต็มพอแล้ว ตู้ขนาด 20 - 30 นิ้วนั้น ควรจะใช้ 2 หลอด ส่วนตู้ที่มีขนาดความกว้างมากกว่า 30 นิ้วขึ้นไป จำนวนของหลอดก็ควรมากขึ้น 1 หลอดต่อความกว้าง 10 นิ้ว

อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้นว่าพื้นฐานทั้งหมดอยู่ที่ความพอดี ไม่ใช่เปิดไฟ 2 หลอดแล้วสีของปลาดีขึ้นภายใน 10 วัน ถ้างั้นเปิดมันซัก 10 หลอดเลย เผื่อว่า 2 วันมันจะแดง มันไม่ใช่แบบนี้นะครับ ในสมัยก่อนยังไม่มีเทคนิคแบบนี้มาช่วย คนเลี้ยงปลาทั่วไปก็เลี้ยงในตู้ขาวนี่หละ แถมยังมีปะการังปูพื้นอีกต่างหาก สมัยนั้นต้องทนเลี้ยงปลากันแบบไม่มีสีไปหลายปี กว่าที่ปลาจะแดงขึ้นมาได้
ตอนนี้เรามีเทคนิคใหม่ ๆ เพิ่มมาเรื่อย ๆ เชื่อถือได้บ้าง ไม่น่าเชื่อถือบ้าง ก็ขอให้ทุกท่านนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสมกันต่อไปครับ

ที่มา  http://www.champaquarium.com/
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

Arowana In japan ( อโรวาน่า ประเทศญี่ปุ่น) ตอนที่ 1

เมื่อเอ่ยถึงปลาที่มีท่วงท่าว่ายน้ำสง่างามเกล็ดสีทองและสีแดงตัดกับผิวน้ำและแสงไฟแวววับ เชื่อว่าทุกคนคงต้องคิดถึงปลามังกรไม่มากไม่น้อย ไม่ว่ากระแสปลามีขึ้นหรือลงอย่างไร เจ้าปลามังกรนี้ ก็ยังได้รับความนิยมอยู่ตลอดมา ในประเทศแถบเอเชียถือว่า ปลามังกร หรือ ที่ชาวต่างประเทศเรียกว่า Arowana เป็นปลาที่นิยมอย่างมากชนิดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน ดังนั้นจึงมีหนังสือและWebsiteสำหรับ ปลาอโรวาน่าโดยเฉพาะออกมามากพอสมควร สำหรับเรื่องราวการเขียนครั้งนี้ จุดประสงค์ต้องการให้ผู้รักการเลี้ยงปลาอโรว่าน่า ชาวไทยทุกท่าน ได้มีข้อมูลการเลี้ยงปลาของชาวญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีการศึกษาและวิจัย เกี่ยวกับปลาชนิดนี้ มากพอควร เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารและทัศนคติอีกมุมมองในการเลี้ยงปลาของเพื่อนชาวไทยและชาวญี่ปุ่น วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาเยี่ยมชมเพื่อนชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่ง ซึ่งเลี้ยงปลาอโรวาน่าแบบรวม และมีการจัดระบบตู้ ของเพื่อนต่างแดนคนนี้ ว่ามีระบบการจัดตู้ปลาอโรวาน่า ปลาที่เขารักอย่างไร



เปิดตู้ข้างล่างออกมามาดูระบบกรองล่างกัน ไม่ต่างจากบ้านเราเท่าไร

ขนาดกรองล่าง 600×500×450MM แบ่งกรองเป็น 3 ช่อง
วัสดุกรองที่ใช้ ใยกรอง Glass ring 40 L Seramic 20 L
มาดูกันครับ เพื่อนชาวปลาดิบของเรา มีขุมกำลัง ขนาดไหนกันบ้าง

ขนาดตู้ 1800×600×600 MM. ทำจากอคิริก ระบบกรองล่างเพิ่มระบบOver flow
หลอดไฟจำนวน 18W×6 หลอด กล่องหลอดไฟทำจาก Aluminium ความยาว 1800 cm.
เท่ห์ไม่เบาเลย รางไฟสไตล์นี้

Pump มี Valve ปิด เปิด ทางน้ำ

Air pump ขนาด 40L/min

ไฟส่องตอนกลางคืน ขนาด 60W ติดผนังส่องตู้ปลา เวลาเปิดประมาณ 1.00 am - 6.00am

ด้านหน้า จะเห็นโซ่ ที่แขวนรางไฟโดยยึดติดฟ้าเพดาน
สร้างบรรยากาศกันน่าดู จริงเพื่อนเราคนนี้
 
Theromostat control heater 300w*2


ชุดควบคุม Heater แบบนี้ บ้านเรา หาไม่ค่อยมี น่ะ หน้าจอเป็น Digital

บอกอุณหภูมิเลย

คุณภาพน้ำ PH 6.8   ค่านำไฟฟ้า 120~150 MICRO SIEMENS


KH1 GH1 NITROUS ACID(NO2) ต่ำกว่า 0.3 mg/l , NITRATE (NO3) 2-5 mgNo3/L

อุณหภูมิน้ำ ฤดูร้อน 30 องศา ฤดูหนาว 28 องศา

การเปลี่ยนน้ำ เปลี่ยน  24 ชั่วโมง โดยระบบ Overflow ประมาณ 200 L ต่อวัน
 
ที่มา www.champaquarium.com
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปลาอโรวาน่าสีทองพบในไทย ( Arowana in Thailand )

ปลาอโรวาน่าสีทองพบในไทย

ราวกลางปี พ.ศ.2545 มีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ลงข่าวคอลัมน์เล็กๆอยู่หน้าด้านใน ว่ามีการจับปลามังกรสีทองได้ในไทย
เนื้อความในข่าวบอกว่า ที่ตลาดของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในจังหวัดยะลา ซึ่งอยู่ติดกับเทือกเขาของอุทยานแห่งชาติบางลางมีชาวป่าที่อาศัยอยู่บนนั้น ได้นำเอาปลามังกรและของป่าที่หาได้นำลงมาแลกเปลี่ยนอาหาร และสิ่งยังชีพ ปลามังกรที่นำลงมา มีจำนวน 3 ตัว และเสียชีวิตแล้ว ขนาดความยาวโดยประมาณ 70 เซ็นติเมตร เกล็ดตามลำตัวมีขนาดใหญ่ และมีสีทอง ปกติปลามังกรที่พบเมืองไทยจะมีเพียง ตะพัดเขียว และตะพัดสีนาก โดยแหล่งที่ค้นพบจะอยู่ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง สุราษฏร์ธานี และที่บึงนํ้าใสจังหวัดยะลาสำหรับปลาอโรวาน่าสีทองจะพบที่ในประเทศ อินโดนีเซียและมาเลเซีย
ชาวป่าที่จับปลามังกรและนำของป่ามาเเลกปลี่ยนสิ่งของและอาหารนี้อาศัยอยู่ บนเทือกเขาบนอุทยานแห่งชาติบางลาง มานานแล้ว และอาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆมีไม่กี่ครอบครัว ไม่สามรถพูดภาษาไทยได้ อาหารมักหาเอาตามป่า และจับปลาในลำธารบนเทือกเขานั่นเอง ซึ่งบางครั้งหาก้ได้ปลามังกรชนิดนี้ ก็จะพากันนำไปกินเป็นอาหาร นานๆทีจึงจะนำของป่าที่หาไดมากพอ้ ลงมาแลกเปลี่ยนยังหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับเชิงเขา ซึ่งใช้เวลาในการเดินเท้ามานานถึง 3 วัน
เมื่อได้สอบถามกับผู้ที่ทำงานอยู่ในกรมประมงท่านหนึ่ง ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับ การพบปลาอโรวาน่าสีทอง ว่ามี่ปลาชนิดนี้อยู่จริงและเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับปลาอโรวาน่าสายพันธุ์ ทองมาเลย์ ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในบรรดาปลาอโรวาน่าเอเซีย พร้อมทั้งยังได้ให้รายละเอียดว่าเมื่อครั้งที่กรมประมงจังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้เริ่มโครงการเพาะพันธุ์ปลาอโรวาน่าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2528 นั้น ทางกรมประมงได้ออกสำรวจตามแม่นํ้าสายต่างๆ ที่มีข่าวว่ามีการจับปลาอโรวาน่าได้ โดยรวบรวมทั้งการรับซื้อจากชาวบ้านที่ประกอบอาชีพการประมงและออกค้นหาจับเอง จากแหล่งนํ้านั้นๆ ปลาอโรวาน่าที่รวบรวมได้จะ เป็นปลาอโรวาน่าเขียว (ตะพัดเขียว) และอโรวาน่าสีนากลักษณะของแหล่งนํ้าที่ค้นพบ มักจะเป็นแม่นํ้าที่มีทางออกติดกับทะเล หรือลำธารที่มีนํ้าสะอาดไหลอยู่ตลอดเวลา เช่น บริเวณต้นนํ้าเหนือเขื่อนรัชประภา และบึงนํ้าใสอําเภอรามัน จ.ยะลา
ในขณะนั้นปลาอโรวาน่าที่รับซื้อจากชาวบ้าน ไม่ได้มีราคาสุงอย่างเช่นในปัจจุบันราคารับซื้อจากชาวบ้านในขณะนั้น มีราคาเพียงตัวละ 3-400บาท แต่ในปัจจุบันนี้ มีผู้รับซื้อจากกรุงเทพเพื่อนําไปขายต่อ ทำให้ราคาสูงขึ้นหลายเท่าตัว ชาวบ้านที่จับปลาอโรวาน่าได้ จึงมักนิยมขายให้กับพ่อค้าจากกรุงเทพ จนปัจจุบันมีปลาอโรวาน่าเหลืออยู่น้อยมาก
เจ้าหน้าที่กรมประมงเคยออกไปสำรวจ บนเอุทยานแห่งชาติบางลาง และล่องเรือออกไปตามแหล่งนํ้าบนเทือกเขา ก็ต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคอย่างยิ่ง เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ อยู่บนภูเขาสูงและมีป่ารกทึบ ไม่สามารถนำรถยนต์ขึ้นไปได้ ต้องอาศัยเพียงเท้าเดินได้อย่างเดียวและมักมีขบวนการโจรก่อการร้ายหลบซ่อน อยู่ และบางครั้งของการออกสำรวจ มักจะมีกระสุนปืนของฝ่ายผู้ก่อการร้าย พุ่งสาดเข้าใส่อยู่เสมอจนต้องยุติโครงการสำรวจเอาไว้เพียงเท่านั้น แต่ก็ยังสามารถที่จะรับซื้อปลาอโรวาน่าซึ่งมีเกล็ดสีทอง ได้บ้างจากชาวป่าที่นำ ลงมาขายให้ที่หมุ่บ้านใกล้ชายเขา
เจ้าหน้าที่กรมประมงท่านนี้ ได้ให้เหตุผลที่มีปลาอโรวาน่าสีทอง เช่นเดียวกับของประเทศมาเลเซียนี้ว่า แม่นํ้าลำธารที่อยู่บนเทือกเขาซึ่งมีอาณาเขตยาวจนเข้าไปถึงในประเทศมาเลเซีย โดยแหล่งนํ้าเหล่านี้ถือเป็นต้นนํ้า ของแม่นํ้าหลายสายในประเทศไทย และประเทศมาเลเซียอีกทั้งสถานที่ก็เป็นป่าดิบชื้น มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก ไม่มีผู้รุกรานป่าเหมือนเช่นอุยานแห่งชาติอื่นๆ โดยอุทยานแห่งชาติบางลางนี้ยังสามารถพบสัตว์ป่าที่แทบสูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น กระซู่ กระทิง นกเงือก และสัตว์หายากประเภทอื่นอีกหลายชนิด

(รายละเอียดของอุทยานแห่งชาติบางลาง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ใน 5 ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ประกอบด้วยบริเวณพื้นที่ป่าเหนือเขื่อนบางลาง บริเวณป่ารอบๆ อ่างเก็บน้ำที่สมบูรณ์ ทะเลสาบ เกาะ และมีอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา - บาลาตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติทิวทัศน์ที่สวยงาม รวมเนื้อที่ประมาณ 461.04 ตารางกิโลเมตร หรือ 288,150 ไร่ )

ที่มาจาก http://arowana-thailand.com/news/1-latest-news/100-2008-11-11-09-54-48.html
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

สายพันธุ์ ปลาอโรวาน่า ( Arowana )

ปลาอะโรวาน่าหรือปลาตะพัดเป็นปลาที่จัดอยู่ในครอบครัว Osteoglossidae (ออสทีโอกลอสซิดี้) ปลาในตระกูลนี้หากจัดแบ่งตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือเขตุภูมิภาคที่พบซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากลจะแบ่งออกเป็น 4 สกุล(Genus) และมี 7 ชนิด (Species) คือ


ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด

ทวีปออสเตรเลีย 2 ชนิด

ทวีปอัฟริกา 1 ชนิด

ทวีปเอเซีย 1 ชนิด (4 สายพันธุ์)

ที่มา http://arowana-thailand.com/component/content/article/45-species/101-species.html
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

ปลาอะโรวาน่า ภาค3

จากหลักฐานที่ได้มีการขุดพบซากฟอสซิลโบราณของปลาในตระกูลนี้ซึ่งติดอยู่ในชั้นหินซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนพื้นโลก จากการคำนวณฟอสซิลของซากปลาเหล่านั้น ปรากฎว่ามีอายุราว 60 ล้านปีล้วงมาแล้ว โดยผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้ให้การสันนิษฐานว่าปลาในตระกูลนี้ อาจเคยมีชีวิตกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำเกือบทั่วทุกมุมโลกแต่เนื่องจากการผันแปรของสภาวะทองธรรมชาติจึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้สูญหายไปจากซีกโลกบางส่วนดังเช่นในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เคยมีการสำรวจพบปลาในตระกูลนี้ที่ยังมีชีวิตหลงเหลืออยู่นอกจากซากปลาโบราณที่ติดอยู่ในชั้นหินเท่านั้น สำหรับปลาที่ยังมีชีวิตหลงเหลือกระจัดกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของพื้นโลก เช่น ที่ลุ่มน้ำอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำไนล์ในทวีปอัฟริกา ทวีปออกเตรเลีย และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีเอเชีย
แต่ขณะนี้ปลาดังกล่าวก็เริ่มลดจำนวนน้อยลงทุกขณะ นื่องจากถูกมนุษย์ล่าไปเป็นอาหาร รวมทั้งถูกจับไปเลี้ยง ขณะที่ปริมาณลูกปลาที่เกิดใหม่กล่บมีปริมาณไม่พอเพียงกับความต้องการของตลาดเพราะปลาชนิดนี้สารมารถผสมพันธุ์วางไข่ครั้งละไม่มาก จึงทำให้ดูมีคุณค่าและมีราคาแพงจึงเป็นที่ต้องตาต้องใจของนักเลี้ยงปลา โดยเฉพาะนักเลี้ยงปลาที่นิยมสะสมวัตถุโบราณ แต่ที่ปลาอะโรวาน่าจะแตกต่างจากวัตถุโบราณทั่ว ๆไปนั่นก็คือเป็นวัตถุโบราณที่เกิดขื้นเองตามธรรมชาติ และเป็นวัตถุโบราณที่มีชีวิตและเคลื่อนไหวได้ ดังนั้นการที่ใครจะมีปลาอะโรวาน่าในรอบครองได้ไม่เพียงแต่ต้องมีเงิน แต่ย่งต้องมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงปลาที่ถูกวิธีด้วยซึ่งโดยธรรมชาติวิสัยของมนุษย์ อะไรก็ตามที่เป็นของหายากและ มีราคาแพงก็จะกลายเป็นสมบ่ติล้ำค่าขึ้นมาทันทีแม้ว่าจะยากเย็น แสนเข็ญเพียงใดแต่มนุหษย์ก็ย่งสู้อุตส่าห์ขวนขวายเสาะแสวงหาเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของ ปลาอะโรวาน่าก็เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไม ปลาชนิดนี้จึงเป็นปลาที่ได้รับความนิยมสูงมาก ...

ที่มา http://arowana-thailand.com/knowledge/general.html
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปลาอโรวาน่า ตอน 2 ( Arowana fish )

ปลาอโรวาน่า (Arowana) AROWANA หรือ "Bonytongue fish" มีชื่อเรียกภาษาไทยว่า ปลาตะพัด หรือ ปลามังกร มีลักษณะเด่นที่รูปร่างคล้ายมังกรและมีความเชื่อกันว่าเป็นปลานำโชค ปลาชนิดนี้จัดอยู่ในครอบครัวออสทีโอกลอสซิตี้ (Osteoglossidae) ประกอบด้วยปลา 4 สกุล (Genus) และ 7 ชนิด (Species) ซึ่งแต่ละชนิดมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกันออกไป ดังนี้




ลักษณะรูปร่าง



มีลักษณะลำตัวยาวแบนข้าง ส่วนท้องแบนมาก เป็นสันคม ความกว้างลำตัวบริเวณส่วนต้นและส่วนท้ายของลำตัว (บริเวณโคนครีบก้น)เกือบเท่ากัน มีความยาวลำตัวเป็น 3.5-4.8 เท่าของความกว้างลำตัว และ 3.5-4 เท่าของความยาวส่วนหัว ปลาที่มีอายุน้อยบริเวณสันหลังจากจงอยปากไปจนถึงบริเวณโคนหางเกือบเป็นเส้นตรง แต่แม่ปลาอายุมากขึ้นจะโค้งเล็กน้อย เกล็ดบริเวณลำตัวมีขนาดใหญ่ หนา และแข็งแรง



จำนวนเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว (lateral line) 21-24 เกล็ด ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านหลัง ครีบหลังสั้นกว่าครีบก้น ครีบก้นมีความยาวเท่าๆกับความยาวของส่วนหัว ครีบหลังมีจำนวนครีบ 20 ก้าน ครีบก้นมี 26-27 ก้าน ครีบอกค่อนข้างยาว ยาวจนถึงโคนครีบท้องวัดความยาวได้ประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว และมีจำนวน 7 ก้าน



ครีบท้องสั้นมีเพียง 5 ก้าน ครีบหางกลมมนไม่ติดกับครีบหลังและครีบก้น ปลาชนิดนี้ปากกว้างมาก เฉียงขึ้นด้านบน มุมปากยาวเลยไปทางด้านล่างของส่วนหัว บนขากรรไกรและเพดานปากมีฟันแหลมคม ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย ที่ปลายขากรรไกรล่างมีหนวดขนาดใหญ่สั้นๆ 1 คู่ ตามีขนาดใหญ่มากกว่าความยาวของจงอยปากเล็กน้อย



ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้โตเต็มที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 7 กิโลกรัม ชอบอาศัยแหล่งน้ำบริเวณภูเขาที่มีน้ำไหลเอื่อยๆ ที่พื้นท้องน้ำเป็นหินปนทรายน้ำค่อนข้างขุ่นและเป็นกรดเล็กน้อย(pH 6-6.5) เป็นปลาที่มีไข่จำนวนน้อย ปลาขนาด 3-6 กิโลกรัม จะมีไข่ประมาณ 40-100 ฟองเท่านั้น เมื่อวางไข่แล้วจะฟักไข่ในปากขนาดไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.72 เซนติเมตร สามารถแบ่งตามทวีปที่พบได้ 4 ทวีป ดังนี้



1. อะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย



ปลาอะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย จัดเป็นอะโรวาน่าที่นิยมสูงสุด ในหมู่นักเลี้ยงปลา ในกลุ่มนี้ มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Scleropages Formosus รูปร่างของปลา จะค่อนข้างออกไปทาง ป้อมสั้น หากเทียบกับสายพันธุ์ ที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยัง จัดเป็นกลุ่มที่มีราคาแพงที่สุด อันเนื่องมาจาก สีสรร อันสวย เกินบรรยาย สีทองดั่งทองคำเปลว หรือ สีแดงแบบเลือดนก



1. อะโรวาน่าทองมาเลย์ ( CROSS BACK )



อะโรวาน่าทองจากมาเลเซีย มีชื่อเรียกหลายแบบ ตามแหล่งที่พบ เช่น ปาหังโกลด์ มาลายัน โบนีทัง (Malayan Bony Tongue), บูกิทมีราสบลู, ไทปิงโกลด์เดน หรืออะโรวาน่าทองมาเลย์ สาเหตุของการมีชื่อเรียกมากมาย อย่างนี้ ก็เพราะว่าอะโรวาน่าชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วไป ในมาเลเซีย ปลาอะโราวาน่าทองมาเลเซีย จัดเป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีราคาแพงที่สุดในบรรดาประอะโรวาน่าด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากปลาชนิดนี้ จะให้ลูกน้อย และในธรรมชาติ หาได้ยากเต็มทีแล้ว ทุกวันนี้มีเพาะเลี้ยงกันที่ ในมาเลเซียและสิงคโปร์เท่านั้น อะโรวาน่าทองมาเลเซีย สามารถแบ่งจริงๆ ได้เป็น 3 พวก ใหญ่ๆ คือ



- สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีน้ำเงิน หรือม่วง ( Blue or Purple Based )



- สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีทอง (Gold Based)



- สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีเขียว (Green Based)



สำหรับ ปลาประเภท 1 และ 2 บางครั้งจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เนื่องจาก สีน้ำเงิน หรือ ม่วงที่เราเห็น ขึ้นอยู่กับมุมสะท้อน ที่เราดูปลา เลยทำให้บางครั้งเราเห็น ออกสีม่วง ทั้งที่ความจริงแล้ว ปลามีฐานเกล็ดสีน้ำเงิน สำหรับแบบที่ 3 หรือ แบบที่มีฐานเกล็ดสีทอง แบบนี้ จัดว่าเป็นสุดยอดของปลาอะโรวาน่า ทองมาเลเซีย เนื่องจาก เมื่อปลาโตเต็มที่ ปลาจะมีสรรที่เหลืองอร่าม ดั่งทองคำเคลื่อนที่ ปลาชนิดนี้ ดูเหมือนจะเป็นอะโรวาน่าทองมาเลย์ประเภท แรก ที่สีทองจะอ้อมข้ามหลังได้เร็ว กว่าสายพันธุ์อื่นๆ



การผสมข้ามสายพันธุ์ ก็ได้ทำให้เกิด สายพันธุ์ใหม่ๆ ของอะโรวาน่าทองมาเลเซีย ขึ้นมา ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า Platinum White Golden และ Royal Golden Blue Arowana เป็นต้น



2. อะโรวาน่าแดง ( Red Arowana )



ปลาอะโราวาน่าแดง ที่มีขายกันในบ้านเรา มีที่มาจากหลายแหล่งน้ำ ในทางตะวันตกของกัลลิมันตัน ในประเทศ อินโดนีเซีย บริเวณแนวสันหลังจะมีสีน้ำตาล เกล็ดบริเวณลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางด้านหลังมีสีเขียวอมน้ำตาล เกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัว มีสีเขียวเหลือบสีแดง หรือแดงอมส้ม บริเวณส่วนท้องและแผ่นปิดเหงือกสีแดงหรือแดงอมส้มครีบอกและครีบท้องสีเขียว แต่บริเวณส่วนปลายครีบจะมีสีแดงหรือแดงอมส้ม ริมฝีปากก็จะมีสีแดงหรือแดงอมส้มเช่นกัน อะโรวาน่า แดง สามารถ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ



- แดงเลือดนก (Blood Red)



- แดงพริก (Chilli Red )



- แดงส้ม (Orange Red)



- แดงอมทอง (Golden Red)



ในปัจจุบัน อะโรวาน่าแดง ทั้ง 4 สายพันธุ์ ได้ถูกเรียก รวมๆ ทั้งหมด ว่า Super Red เนื่องจาก ปลาอะโรวาน่าแดง ประเภท Orange Red และ Golden Red เวลาโต จะเห็นได้อย่างเด่นชัดว่าสีจะไม่แดงเข้ม เท่า 2 สายพันธุ์แรก จากรูปข้างบน จะเห็นได้อย่างเด่นชัดว่า คุณภาพสีแดงของ Orange Red และ Golden Red จะออกไปทางส้มอม แดง หรือ ทองอม แดง



ชิลี่เรด และ บัดเรด ทั้งสองตัวนี้ มีแหล่งกำเนิดจาก แม่น้ำ Kapaus และทะเลสาบ Sentarum ซึ่งทะเลสาบ Sentarum นี้จะประกอบไป ด้วยทะเลสาบย่อยๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้หมด ทางตอนปลายจะมีทางออกสู่ แม่น้ำ Kapaus ธรรมชาติของแม่น้ำนี้ จะถูกปกคลุม ด้วยต้น Peat ซึ่งทำให้แลดูเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับ การดำรงชีวิตของปลาชนิดนี้มาก สภาพ น้ำในแม่น้ำ Kapuas จะมีสีดำ ของแร่ธาตุ และอาหาร ซึ่งมีผลต่อสีของปลา ทำให้ อะโรวาน่าแดง มีสายพันธุ์ย่อยๆ ลงไปอีก โดยสามารถแบ่งแยกได้ จากความเข้มของสี ที่แตกต่างกัน และ รูปทรงของปลา ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวนี้ พ่อค้าปลา ได้ตั้งชื่อเรียกปลาอะโรวาน่า ชุดแรกๆ ที่มีการส่งออก ว่า Chilli Red และ Blood Red โดยที่จะใช้ ความเข้มของสีแดงและ รูปทรงของปลา ในการจำแนก ปลาทั้งสองชนิดออกจากกัน ในปลาที่โตเต็มที่ ชิลี่เรด จะสีแดงคล้ายพริกในขณะที่ บัดเรด จะแดงออกสีเลือด ชีลี่เรด จะมีตาที่ใหญ่สีแดง และหางที่มีรูปร่างคล้ายรูปร่างของเพชร ในขณะที่ บัดเรด จะมีตาที่เล็กกว่า ขาวกว่าและรูปแบบหาง จะกลม เปิดกว้างมากกว่า ตาที่ใหญ่ของชีลี่เรด บางครั้งขอบ ตาบนจะแตะระดับส่วนบนของหัวพอดี



3. อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย ( Red Tail Golden Arowana )



จำแนกอยู่ภายใต้กลุ่มอะโรวาน่าทอง เช่น เดียวกับทองมาเลย์ ปลาชนิดนี้ พบใน Pekan Baru ในประเทศอินโดนีเซีย เวลามันโต เต็มที่ มันจะไม่ทองแบบเหลืองอร่ามทั้งตัว ทองอินโด สามารถแบ่งประเภท ตาม สีของเกล็ดได้ 4 ประเภท คือ พวกที่มีฐานเกล็ด สีน้ำเงิน, เขียว และ ทอง อะโรวาน่าทองที่มีขนาดเล็ก จะมีสีที่ด้านกว่าของมาเลย์อย่างเห็นได้ชัด



4. อะโรวาน่าเขียว Green Arowana



แหล่งกำเนิดของปลาตัวนี้ พบกระจายอยู่ใน มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ใน แถบจังหวัด จันทบุรี ตราด บริเวณด้านหลังจะมีสีเขียวอมน้ำตาล สีเทา หรือเทาอมเขียว เกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัวมีสีเงินหรือเงินเหลือบเขียว ครีบทุกครีบสีน้ำตาลอมเขียว



2. อะโรวาน่าจากทวีปอเมริกาใต้



สำหรับ อะโรวาน่าที่มาจากทวีปอเมริกา มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ อะโรวาน่าเงิน อะโรวาน่าดำ และ อะราไพม่า ชาวพื้นเมือง จะเรียกปลาอะโรวาน่า ว่า "ลิงน้ำ (Water Monkey)" เนื่องจากลักษณะการ กระโดด ขึ้นกินแมลง ที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้ เหนือ ผิวน้ำ



อะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana)



มีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำอะเมซอนในจิอานา(Guiana) อเมริกาใต้ เมื่อโตเต็มที่ยาวถึง 1 เมตร ลำตัวยาวและแบนข้างมาก เรียงไปทางส่วนโคนหาง ส่วนท้องแบนเป็นสัน ลำตัวมีสีเงินอมเทา หรือเหลืองอมเขียว บางตัวเมื่อโตขึ้นจะมีสีขาวเหมือนหิมะ จึงเรียกว่า snow arowana บริเวณลำคอจะมีสีส้มหรือส้มอมแดง เกล็ดตามตัวมีขนาดใหญ่ เกล็ดตามเส้นข้างตัวมี 31-35 เกล็ด บนเกล็ดมีจุดสีแดงและสะท้อนแวววาวเมื่อมีแสงสว่าง ครีบมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน ปากกว้างมากเมื่อยื่นขึ้นไปด้านบน ริมฝีปากล่างยื่นออกไปกว่าริมฝีปากบนเล็กน้อย ปลายริมฝีปากล่างมีหนวดขนาดใหญ่ 2 เส้น หนวดมีสีน้ำเงินหรือฟ้าน้ำทะเล ครีบก้นยาวมากเริ่มจากลำตัวยาวไปจนถึงโคนหางมีก้านครีบ 50-55 ก้าน ส่วนครีบหลังอยู่ตรงกันข้ามกับครีบก้นแต่สั้นกว่าครีบก้นเล็กน้อย จำนวนก้านครีบ 42-46 ก้าน



อะโรวาน่าดำ (Black Arowana)



พบแพร่กระจายบริเวณแม่น้ำริโอนิโกร (Rio Negro) ในบราซิล ลักษณะลำตัวโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน กับอะโรวาน่าเงินมากในขณะที่ปลาอายุยังน้อยยังมีเส้นขนาดเล็กคาดอยู่ อะโรวาน่าดำจะมีสีคล้ำกว่าอะโรวาน่าเงินมาก และจะมีแถบสีดำพาดไปตามความยาวลำตัว แต่เมื่อปลามีอายุมากขึ้น สีบริเวณลำตัวจะซีดจางลงจนมีสีใกล้เคียงกับอะโรวาน่าเงิน จุดที่พอจะสังเกตุความแตกต่างได้เมื่อปลาอายุมากขึ้นคือ ครีบหลังและครีบก้น อะโรวาน่าดำจะมีขอบครีบหลังและครีบก้นเป็นสีดำในขณะที่อะโรวาน่าเงินไม่มี



อะราไพม่า หรือ ปลาช่อนยักษ์ ( Aarapaima )



ในธรรมชาติปลาอะราไพม่าจะกิน ปลาตระกูลแคชฟิช บางชนิดเป็นอาหาร ในบางครั้งก็อาจจะกระโดดขึ้นมาเหนือน้ำ เพื่อจับนก ที่บินไปบินมา ปลาพิรารูคู หรือ อะราไพม่า ที่เรารู้จักดี เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในโลก สามารถเติบโต ได้ถึง 10 ฟุต น้ำหนักถึง 400 ปอนด์ จากหลักฐานเท่าที่มีการยืนยัน เมื่อ ร้อยปีที่แล้วมีคนเคยจับได้ขนาดใหญ่สุดถึง 15 ฟุต 4.6 เมตร ปลาช่อนยักษ์จะวางไข่ราวๆ ช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม ไข่เป็นพันๆ ฟองจะถูกวางในแอ่งดินใต้น้ำ ที่พ่อแม่ปลา ช่วยกันเตรียมรังเอาไว้ต้อนรับลูกน้อย



ปลาชนิดนี้ มีลิ้นเป็นกระดูกแข็ง Bony Tongue ซึ่งมีฟันชุดที่สองเรียงราย อยู่ ด้วยคุณสมบัติดังนี้ ทำให้ปลาช่อนยักษ์ สามารถกินปลาในตระกูล Catfish ซึ่งเป็นปลาที่มีเกราะหุ้ม อันแข็งของปลาในกลุ่มนี้



3. อะโรวาน่าจากทวีปแอฟริกา (African Arowana)



อะโรวาน่าที่พบในอัฟริกามีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น อาศัยแพร่กระจายอย่างกว้างขวางจากตอนบนของแม่น้ำไนล์ บริเวณส่วนกว้างอัฟริกาไปจนถึงฝั่งตะวันตก ขนาดใหญ่ที่สุดของปลาชนิดนี้ มีความยาวลำตัวถึง 4 ฟุต ลำตัวค่อนข้างแบนและกว้าง(ลึก) ส่วนหัวค่อนข้างหนาและสั้น ด้านบนโค้งเล็กน้อย ลำตัวด้านหลังและด้นข้างมีสีน้ำเงินอมดำ น้ำตาลอมเทา น้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่ ส่วนบริเวณท้องจะมีสีซีดกว่าด้านข้าง อาจจะมีสีครีมหรือน้ำตาลอมเหลือง ส่วนครีบต่างๆจะมีสีคล้ายกับสีของลำตัว จงอยปากสั้นกลม ริมฝีปากหนา ปากมีขนาดเล็กแต่มีฟันเต็มปาก ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง ครีบหลังและครีบท้องอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหางมีขนาดเล็ดรูปร่างกลม ครีบอกและครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบอกอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ครีบท้องมีก้านครีบเพียง 6 ก้าน บริเวณหัวไม่มีเกล็ด เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัว 32-38 เกล็ด



4. อะโรวาน่าจากทวีปออสเตรเลีย (Saratogos)



ที่พบในทวีปนี้ มีด้วยกัน 2 ชนิด พบที่ออสเตรเลียเหนือ มีชื่อว่า Nothern Saratogas และที่พบที่ ออสเตรเลียตะวันออก ชื่อว่า Spotted Saratogas



อะโรวาน่าออสเตรเลียเหนือ (Nothern Saratoga)



พบในทางตอนเหนือ ของประเทศออสเตรเลีย และ หมู่เกาะนิวกีนี ในประเทศอินโดนีเชีย ปลาชนิดนี้ เป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีรูปร่าง ที่คล้าย อะโรวาน่าจากทวีปเอเชียมากที่สุด



มีขนาดโตเต็มที่ ประมาณ 90 เซนติเมตร ลักษณะ ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ของอะโรวาน่าออสเตรเลีย จากอะโรวาน่าในแถบทวีปเอเชีย คือ จำนวนแถว ของเกล็ด จะมีมากแถวกว่า โดยที่อะโรวาน่าออสเตรเลีย จะมีเกล็ด 7 แถว ในขณะที่ ของอะโรวาน่าจากเอเชีย มี เพียง 5 แถว ส่งผลให้ขนาดของเกล็ดปลาจะมีขนาดเล็กลง ขอบเกล็ดของปลาอะโรวาน่าชนิดนี้ จะออกสีส้ม เหลือบเขียว เป็นรูปเสี้ยวพระจันทร์



อะโรวาน่าออสเตรเลียตะวันออก (Spotted Saratoga)



มีถิ่นกำเนิดในรัฐ ควีนส์แลนด์ ในลุ่มแม่น้ำ Dawson อะโรวาน่า ชนิดนี้ หรือ ที่เรียกกัน สั้นๆ ว่า อะโรวาน่าออสเตรเลียจุด มีขนาดความยาวสูงถึง 90 ซม. ลักษณะลำตัวยาวเรียว บริเวณสันหลังตรง ลำตัวบริเวณด้านหลังและด้านข้างลำตัวเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมเขียว หรือเหลืองอมเขียว บริเวณส่วนท้องสีจางกว่าลำตัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีเกล็ดตามเส้นข้างตัว 35 เกล็ด มีจุดสีส้มอมแดงและสะท้อนแสงบนเกล็ดแต่ละเกล็ดจำนวน 1-2 จุด ครีบหลังและครีบก้นสีเหลืองอ่อน ขอบครีบทั้งสองเข้มจนเกือบดำ ครีบก้นยาวกว่าครีบหลังเล็กน้อยมีก้านครีบ 31 ก้าน ครีบหลังมีก้านครีบ 20 ก้าน


ที่มา http://www.kapook.com/
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

เชื้อแบคทีเรีย ในปลาอโรวาน่า หรือ ปลามังกร


ในการเลี้ยงปลามังกร หรือ AROWANA โรคที่พบส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้แตกต่างกับปลาสวยงามชนิดอื่นมากนัก โดยปัจจัยหลักๆในการเกิดโรคก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของสภาพน้ำและการเอาใจใส่ดูแลเรื่องอาหารเป็นต้น สำหรับบทความนี้ขอเกริ่นคร่าวๆก่อนที่จะไปเจาะลึก เป็นโรค ในบทความต่อๆไปนะครับ


การติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่ที่พบ มักจะเกิดจากการที่สภาพน้ำที่ขาดการดูแล เช่น เกิดการสะสมของเศษอาหารในตู้หรือในระบบกรอง นอกจากนี้ ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้ ปลามังหรหรือ Arowana สามารถติดเชื้อได้ คือ การติดเชื้อจาก ปลาที่เรื่องเป็นเพื่อน หรือ (mate)

อาการที่พบ

- พบการตกเลือดหรือแผลที่เกิดขึ้นตามอวัยวะต่างๆเช่น ลำตัว หัว หรือ ตามครีบเป็นต้น

- อาการเกล็ดพอง ซึ่งเป็นการติดเชื้อบริเวณผิวหนังใต้เกล็ด

- อาการตาโปน ปากบวม

- อาการหน้ามะระ ( เป็นการติดเชื้อบริเวณใบหน้า ทำให้มีการบวมบริเวณใบหน้า )

วิธีการป้องกัน


- หมั่นดูแลความสะอาดของน้ำอยู่เสมอ

- หมั่นตรวจเช็คช่องกรอง ไม่ว่าจะเป็นกรองบนหรือกรองล่าง ว่ามีสิ่งสกปรกสะสมมากน้อยเพียงใด

- ควรทำการกักโรค ปลาที่เลี้ยงเป็นเพื่อนก่อนน้ำปลานำไปเลี้ยงในตู้

- หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติของปลาที่เราเลี้ยงอยู่

- สามารถเลือกใช้ UV เพื่อการฆ่าเชื้อในน้ำ


ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/


ความคิดก่อน เลี้ยงปลาอโรวาน่า หรือปลามังกร

เรื่องนี้ค่อนข้างต้องใช้ความไตร่ตรองเหมือนกันนะครับ มีคนตั้งกระทู้ถามผมโดยตรง แถมมีคนถามผมต่อหน้าหลายๆคนเหมือนกันว่า เราจะดูปลาเล็กๆบางตัวรู้ได้ไหมว่า ปลาตัวนี้มัน สั้น ไอ้ตัวกระผมเองนั้นมันก็ไม่ได้เป็นผู้ชำนาญการเรื่องความสั้นเสียด้วย เพราะผมตัวสูงยาว และยาวทุกอย่าง เอาเป็นว่าผมบอกได้เท่าที่รู้แล้วกันนะครับ


สำหรับผมแล้วปลาสั้นแบ่งเป็น 4 แบบ



ทองอินโดช็อตบอดี้





อโรเงินช็อตและคิง

1. ปลาปกติ แต่ สั้น หมายถึง รูปร่างปลาไม่ได้มีส่วนใดที่บอกว่าเป็นปลาพิการเลย แต่ ปลามีลักษณะลำตัวไม่ยาว เกล็ดไม่มีการเบียดชิดติดกันอย่างเห็นได้ชัด จำนวนเกล็ดในแถวที่ 3 มีจำนวน 21-23 แผ่นตามปกติ พวกนี้บางคนจะบอกว่า เลี้ยงเสียข้าวสุก เพราะมันไม่ค่อยจะยาว ออกทางกว้างซะมากกว่า ประมาณ สั้นป้อม

2. ปลาไม่ปกติ สั้นอย่างเดียว หมายถึง รูปร่างปลาเป็นตัวบ่งบอกว่า ปลาตัวนี้มีลักษณะพิการชัดเจนเช่น ลักษณะเกล็ดเบียดเข้าหากันอย่างเห็นได้ชัด ลักษณะการเบียดของเกล็ดจะเกิดขึ้นได้ ทั้งตัวปลา หรือ บางช่วงเช่น ช่วงท่อนหน้า ท่อนกลาง หรือท่อนหลังของลำตัว ที่ลักษณะนี้ที่สั้นแล้วดูสวยจริงๆ คือ สั้นท่อนหน้านะครับ จำนวนแผ่นเกล็ดในแถวที่3 มีจำนวน 21-23 แผ่นเท่าปลาปกติ หรือ อีกประเภท สั้นโดยมีการเรียงตัว และจำนวนแผ่นเกล็ดแถวที่3 น้อยกว่า 21-23 แผ่น ปลาลักษณะนี้ก็เป็นที่สังเกตเห็นได้ง่ายๆเช่นกัน

3. ปลาไม่ปกติ ไม่แค่สั้นเท่านั้น แต่หลังค่อมด้วย หมายถึง รูปร่างปลามีลักษณะพิการชัดเจน คือ มีกระดูกสันหลังที่ตั้งชันขึ้นไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกับกะโหลก ลักษณะเช่นนี้ส่วนมากเกล็ดบริเวณที่ตั้งชันขึ้นนั้นจะเบียดชิดติดกันทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า สั้น แต่ ในปลาหลังค่อมหลายๆตัว ก็ไม่ได้มีลักษณะสั้นติดตัวมาด้วยนะ

4. ปลาปกติ ที่ไม่ปกติ หมายถึง ปลาที่มีแนวเกล็ดบนหลังผิดแปลกไป อาจมีลักษณะแนวกระดูกสันหลังที่ผิดแปลกไปด้วย ทำให้ตอนเล็กๆ ดูว่ามีแนวโน้มว่าเป็น ปลาสั้น แต่ส่วนมาก ปลาลักษณะนี้พอโตขึ้นจะไปเข้าลักษณะข้อที่ 1 ซะเป็นส่วนมาก จะหายากมากๆ ที่เข้าในลักษณะข้อที่ 2 และ 3





ทองอินโดช็อตบอดี้ในวัยเด็ก(ไม่ใช่ตัวบนสุดนะ)

เมื่อพิจารณาจาก ลักษณะปลาสั้นข้างต้นแล้ว เราพอแยกออกได้นะครับว่า ข้อที่ 1 และ 4 ไม่สามารถเรียกได้ว่า Shotbody มีเพียงข้อที่ 2 และ 3 เท่านั้นที่ เรียกได้ว่า Shortbody และบางกรณีจะเรียกว่า King อีกต่างหาก

หากมาดูในตลาด จะมีบางร้านอ้างว่า ปลาบางตัวมีลักษณะ Shotbody ก็จะตั้งราคาขายที่สูงกว่าปกติ ขึ้นอยู่กับว่า ลักษณะที่เห็นก้ำกึ่งแค่ไหน ถ้าชัดเจนมากราคาก็อาจเป็น 2เท่าของราคาปกติ แต่ถ้าไม่ชัดเจนมากพอก็อาจมีราคาเพิ่มขึ้นมาอีก 20-40% ของราคาปกติ และบอกให้ลูกค้าเอาไปลุ้นกันเอง

วิธีการเลือก ก็อย่างที่บอกนะครับ ถ้าดูแล้วเข้าลักษณะ ข้อ2 และ 3 ก็รีบเอาเงินให้คนขายทันที แต่ถ้าเข้าลักษณะข้อ1 และ4 ก็ควรจะช่างใจสักเล็กน้อยนะครับว่า เราหวังจะได้ปลาแบบนั้นจริงๆหรือเปล่า

ขอบอกหน่อยนะครับ หากคิดสั้นจะเลี้ยงปลาสั้นพิการแบบนี้ หรือไม่ว่าแบบใดก็ตาม คงต้องทำใจรับสภาพของความผิดปกติที่อาจตามมาได้นะครับ ที่เห็นมากคือ อาการหลังลอยพ้นน้ำ หากเกล็ดเบียดด้านหน้ามากๆ ก็ต้องระวังอาการเหงือกบาน และที่สำคัญ ปลาพวกนี้หนีไม่พ้นอาการปากยื่นครับ





บทความนี้ขออุทิศให้แก่ช็อตบอดี้ตัวนี้ครับ



จะเห็นได้ว่า ลักษณะของปลาแต่ละตัวที่ผมนำมาให้ดู มีลักษณะเด่นพิเศษอยู่นั่นคือ เมื่อคุณเห็นในครั้งแรก คุณจะบอกได้ทันทีว่า ปลามันคือ ช็อตบอดี้ จริงๆ นั่นคือหัวข้อสำคัญ ถ้าหากคุณต้องพิจารณาว่าปลามันสั้นหรือไม่ แล้วมันสั้นตรงไหน แปลว่าปลาตัวนั้นเป็นแค่ปลาปกติ ที่อาจดูสั้นเท่านั้นเอง

ที่มาจาก http://www.arowanacafe.com/articles/view.php?section=2&id=89
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว http://www.arowana-asia.com/

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อโรวาน่าสายพันธุ์ไหนที่ควรจะเลี้ยงเป็นตัวแรกดี ที่นี่มีคำตอบ!

พี่น้องๆหลายๆคน ที่คิดจะเลี้ยงอโรวาน่าเป็นตัวแรกในชีวิต มักจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองบ่อยๆเสมอมาว่า สายพันธุ์ไหนดีน่ะที่ เราจะเริ่มเลี้ยงเป็นตัวแรกกันดี หลายๆคนบอกเลี้ยงอโรเงินดีกว่า แต่อีกหลายคนก็บอกว่า เอาทองมาเลย์ไปเลย แล้วแบบนี้จะเชื่อใครดี




ก่อนอื่นลองมาดูความเห็นของพี่มีลาสีดำผ่านมาพอดีกันบ้างน่ะครับ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการตัดสินใจ พี่มีลาเคยบอกไว้ในหนังสือ Fish Focus ไว้น่าฟังมากน่ะครับ ลองตามไปดูกันดีกว่าครับ
อโรวาน่าทองมาเลย์ (Malaysian Golden Crossback)

“ ถ้ามีใครสักคนต้องการเลี้ยงอโรวาน่าตัวแรกในชีวิตและต้องการเริ่มต้นด้วยปลาราคาถูกก่อน แล้วค่อยขยับชนิดปลาขึ้นไปเป็นราคาแพง เช่น ลอง อโรวาน่าเขียวก่อน เลี้ยงรอดค่อยไปซื้อ อโรวาน่าทองหรืออโรวาน่าแดง ผมค่อนข้างไม่เห็นด้วย กับความคิดนี้เท่าไรนะครับ เพราะหากเพื่อนๆเลี้ยงอโรวาน่าเขียวรอดแล้ว เพื่อนๆจะเอาปลาตัวนี้ไปไว้ที่ไหน และถ้าต้องการตัวที่แพงกว่า โดยที่ไม่มีที่ทางสำหรับปลาตัวแรกที่เป็นส่วนเกินแล้วล่ะก็ ทางออกของปลาตัวแรกจะจบลงที่ไหนกันดีครับ ”


อโรวาน่าแดง (Indonesian Red Arowana)

ผมไม่ได้หมายความว่า อโรวาน่าเขียวไม่สวย แต่ผมกำลังกล่าวถึง เพื่อนๆที่มีความพร้อมทั้งกำลังทรัพย์และความรู้แต่ขาดเพียงแค่ประสบการ์ณในการเลี้ยงอโรวาน่า จะเลี้ยงปลาที่แพงๆก็เสียวว่าจะไม่รอด หลายๆคนเลยหาทางออกโดยการใช้อโรวาน่าที่มีราคาถูกเป็นหนูทดลองในการเลี้ยง


โดยส่วนตัวแล้วผมขอแนะนำว่า ถ้าเพื่อนๆมีความพร้อมแล้วขาดเพียงแต่ประสบการ์ณการเลี้ยง ผมขอแนะนำให้เพื่อนๆซื้ออย่างที่อยากได้ไปเลยครับ เช่น อยากได้ อโรวาน่าทอง ก็ซื้อสีทอง อยากได้สีแดงก็ซื้อเลยครับสีแดง อย่าไปซื้อ อโรวาน่าเงิน หรือเขียวมาเลี้ยงให้เสียเวลาเลยครับ


อโรวาน่าทองอินโด (Indonesian Golden Arowana) หรือ RTG

แต่อย่างไรก็ดี ก่อนที่เพื่อนๆจะเสียเงินซื้อปลาราคาแพงอย่างอโรวาน่าสักตัว ขอให้เพื่อนๆได้ศึกษา หาความรู้ เกี่ยวกับปลาอโรวาน่าสายพันธุ์ชนิดนี้ก่อนสักนิด ไม่ว่าจากการเดินดูปลาตามร้านขายปลาทั่วไป ดูเยอะๆก็จะมีความเข้าใจในระดับหนึ่งว่า ปลาตัวไหนสวย ปลาตัวไหนมีปัญหา ปลาตัวไหนถูกชะตา ปลาแต่ละชนิดมีลักษณะต่างกันอย่างไร ถือว่าเป็นการศึกษาหาข้อมูลร้านค้าที่เราจะซื้อปลาด้วย เพราะ ซื้อปลาก็คล้ายๆกับซื้อรถ เปรียบเทียบให้เห็นภาพนะครับ ควรมีบริการที่ดีตั้งแต่เราเดินเข้าร้านถึงแม้ว่าเราจะยังไม่ได้ซื้อของๆเขาก็ตาม
อโรวาน่าเงิน (Silver Arowana) โตเต็มที่ ร่วม 2 ฟุต !!!

การสอบถามหาความรู้จากร้านขายปลา หากผู้ค้าไม่สามารถตอบได้หรือตอบอย่างขอไปทีหรือไม่อยากตอบ ก็ไม่น่าจะพิจารณาร้านนั้นในการซื้อปลานะครับ และควรถามหาบริการหลังการขายว่ามีอย่างไรบ้าง ไม่ใช่ว่า ปลาป่วยก็ไม่รู้วิธีรักษา ศัลกรรมปลาได้ไหม คิดค่าทำเท่าไร และก็มีการศึกษาจากคู่มือการเลี้ยงปลา อโรวาน่า ที่มีออกมาจำหน่ายจากหลายสำนักพิมพ์ หรือจาก เวปไซด์ต่างๆ ในอินเตอร์เน็ท ไม่ว่าจะเป็นของไทยหรือต่างประเทศ
การหาความรู้ ในการเลี้ยงเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับท่านว่า ท่านสามารถ เลี้ยงปลาอโรวาน่าโดยไม่ต้องกังวลว่า มันจะตายหรือมันจะป่วยหรือ ซื้อปลามาไม่ถูกต้องตามสายพันธุ์ที่ต้องการนะครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อแนะนำเล็กๆน้อยในการเลือกซื้ออโรวาน่าตัวแรกของเพื่อนๆจากพี่มีลาสีดำผ่านมาพอดี
โดยส่วนตัวแล้วพี่ทอมก็เห็นด้วยกับพี่มีลาเป็นอย่างมากครับ ถ้างบประมาณของเพื่อนๆมีเพียงพอ เราก็ควรเริ่มจากสิ่งที่ชอบเป็นอย่างน้อยดีกว่าครับ เพราะปลาอโรวาน่าไม่ว่า สายพันธุ์ไหนก็ต้องการความรักความเอาใจใส่ ไม่แตกต่างกัน ต้องการที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม การเคลื่อนย้ายปลาเมื่อโตขึ้นไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใดก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเป็นแน่
ดังนั้น ก่อนที่เพื่อนๆจะเลือกซื้ออโรวาน่าสักตัว ลองถามใจตัวเราก่อน ว่าเรามีความพร้อมแค่ไหนน่ะครับ
ฝากทิ้งท้ายน่ะครับ ว่า “จงทำในสิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำให้ดีที่สุดน่ะครับ”
ในวินาทีนี้พี่ทอมเชื่อว่า เพื่อนๆ คงมีคำตอบในใจแล้วใช่ไหมครับว่า สายพันธุ์ไหนที่เพื่อนๆต้องการ ลองค้นหาและทำตามใจปรารถนาได้เลยครับ
ที่มาของข้อมูล http://www.arowanacafe.com/articles/view.php?section=2&id=2
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
http://www.arowana-asia.com/ เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปลามังกร หรือปลาอะโรวาน่า arowana "ปลาแห่งโชคลาภ"

AROWANA หรือ "Bonytongue fish" มีชื่อเรียกภาษาไทยว่า ปลาตะพัด หรือ ปลามังกร


ประวัติ

ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้พบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1844 ในประเทศอินโดนีเซีย ปลาชนิดนี้ถือได้ว่าเป็นปลาที่อยู่ในตระกูลโบราณที่หายาก ปลาอะโรวาน่าเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่เงียบสงบ เป็นปลาที่ได้รับความนิยมมาก ในกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีการจับปลาอะโรวาน่ามาเลี้ยงมากขึ้น จึงทำให้ปลาลดน้อยลงไป ทำให้ออกกฎหมายคุ้มครองปลาอะโรวาน่าเกิดขึ้น

ถิ่นกำเนิด

ปลาอะโรวาน่ามีถิ่นกำเนิดที่แตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ ปลาอะโรวาน่าจะอาศัยอยู่ตามแม่น้ำและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เท่าที่ผมรู้ในประเทศไทยจะพบปลาอะโรวาน่าอาศัยอยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออก ภาคใต้จะพบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี สตูล ส่วนทางภาคตะวันออกจะพบที่จังหวัดจันทบุรี และตราด เป็นต้น นอกจากนี้ปลาอะโรวาน่ายังมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย แถบอัฟริกาและอเมริกาใต้
http://www.arowana-asia.com/ เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว

อโรวาน่า ตาตกได้มั้ย สาเหตุเกิดจากอะไร

ใครๆก็แอนตี้ปลาตาตกกันทั้งนั้น แล้วปลาตาตกจะแก้ได้หรือเปล่า อันนี้ก็มีคนว่าไว้หลายๆอย่าง

ทำไมปลาถึงตาตก บ้างก็บอกว่า กรรมพันธุ์ บ้างก็บอกว่า ไขมันสะสม และบ้างก็บอกว่า ปลามองต่ำไป

จากสาเหตุข้างต้นก็พอมีส่วนที่เป็นไปได้ และบางอย่างก็ดูแล้วไม่น่าเป็นสาเหตุ มาดูกันครับ


กรรมพันธุ์ อันนี้ถ้าเป็นจริงๆ ก็คงต้องทำใจ แต่เราจะรู้ได้ไงอ่ะว่าที่ตาตกมันเพราะสาเหตุนี้ อันนี้มีข้อสังเกตุไม่มีข้อมูลสนับสนุน ถ้าเป็นกรรมพันธุ์ ปลาอยู่ในบ่อทำไมตาตกจึงไม่แสดงออก และทำไมถึงมีการแนะนำให้แก้ตาตกโดยการเอาลงบ่อ แล้วปลาในธรรมชาติ ตาตกหรือเปล่า

อีกสาเหตุเพราะไขมันสะสมใต้ตา จึงทำให้ตาตก อันนี้ อืมมมมม น่าคิดครับ เพราะมีการแสดงการผ่าตัดไขมันหลังลูกตาออกมา แล้วตาก็กลับคืน แต่มันก็มีข้อแย้งได้เช่น ไม่เห็นมีรูปหรือวิดีโอ หรือ บทความเกี่ยวกับผลการรักษาปลาหลังได้รับการผ่าตัดเลย ปลามองต่ำ สาเหตุนี้น่าจะประหลาดมากๆ เพราะถ้าปลามองลงด้านล้าง ปลาเอียงตัวมองแล้วใช้สายตากรอกไปมาไม่ดีกว่าเหรอ เช่นการหลบแดดก็ถือว่าเป็นการมองต่ำได้ เพราะปลาไม่สู้แสง แต่ทำไมปลาถึงว่ายเอียงแทนที่จะเอาตาลงด้านล่าง หรืออีกกรณีหากมีการโต้แย้ง เพราะปลามองหาอาหารที่พื้นตู้ยังไงล่ะ อันนี้ก็น่าคิด เพราะปลาอโรวาน่าเป็นปลาที่ใช้สายตาในการล่าเหยื่อ อาจเป็นได้ที่ปลามองต่ำเพื่อหาเหยื่อก้นตู้ แต่ก็อีกอ่ะ ปลาก้มหัวลงไปดูเลยไม่ดีกว่าหรือ อย่างที่ปลาส่วนใหญ่ทำๆกัน คือ เล็งเหยื่อ และโฉบเข้าใส่


และมันก็ยังมีอีกหลายๆสาเหตุที่ทำให้ปลาตาตกได้ เช่นปลาอยู่ตู้ 2 ชั้น บ้างก็ว่าปลาอยู่ตู้ชั้นบนจะตาตกเสมอ แต่มันก็มีความเป็นไปได้ที่ตาปลาตกไปแล้วจะกลับคืนขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะตกมาก หรือว่าตกน้อย เพียงแต่ว่าตาที่กลับขึ้นมาจะขึ้นมาเหมือนปกติ หรือคืนขึ้นมาในตำแหน่งที่ดีกว่าเดิมได้แค่ไหน ก็สุดแล้วแต่กรรมเวรของปลาแต่ละตัว

หลายๆคนก็บอกกันว่า เอาลงบ่อ หรือปิดหน้าตู้ ปลาก็อาจหายตาตกได้


ผมเลี้ยงอโรวาน่ามาหลายตัว และน่าจะเพียงพอสำหรับการที่ผมจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับการแก้ปลาตาตก และผมเองก็ไม่เคยเอาปลาลงบ่อลงอ่างเพื่อแก้ตาตก ผมปล่อยให้ปลาเป็นไปตามธรรมชาติ ผมซื้อปลามาไม่เคยมองว่าตาตกเป็นปัญหา หากหลายๆคนรู้จักผมมานาน จะได้ยินเสมอๆว่า ปลาตาตกของผมหาย และปลาส่วนใหญ่ในบ้านผม ตาไม่ตก ไม่ใช่การอวดอ้างว่า ผมมีวิธีแก้ แต่ผมจะมาบอกกล่าวว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่น่าจะมีส่วนช่วย แต่อย่างที่บอกมันก็มีข้อโต้แย้งในความคิดผมเองเช่นกัน

หากดูจากรูปบริเวณที่ตั้งตู้ปลาทั้งหมด มีการเปิดไฟไว้ในบริเวณหนึ่งในช่วงกลางคืน แต่จะปิดในช่วงกลางวัน และผมเองจะปิดไฟตู้ปลาทุกตัวมืดสนิทในช่วงกลางคืน ดังนั้นจะมีอยู่บริเวณหนึ่งที่สว่าง


ตู้ปลาก็จะอยู่รายล้อมบริเวณที่มีไฟเปิดอยู่ นี่เองที่ผมจะบอกว่า ปลาของผมตาหายตกได้อย่างไร

จากสถิติที่เก็บได้ ปลาที่มีขนาดไม่เกิน 12นิ้ว หายแทบทุกตัว แต่หากความยาวเกินจากนั้นไปมีน้อยมากที่หาย ไม่ว่าจะตกมากตกน้อยก็จะกลับคืนมาในสภาพเรียกได้ว่าเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน และตาที่หายตกนั้นยังคงเป็นปกติไม่ตกเพิ่ม
ต๊ะเอ๋
สิ่งที่ผมบอกไปนั้นไม่ใช่ความเชื่อ แต่ก็พิสูจน์เอามาเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ เพราะตามหลักวิทยาศาสตร์และสถิติแล้ว รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่นระยะห่างจากไฟถึงตู้ปลาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นมุมเอียงในองศาที่แตกต่างกันในแต่ละตู้ทั้งตู้บนและตู้ล่าง ใช่ว่าตู้ที่อยู่ใกล้ไฟดวงนั้นมากที่สุดจะแก้ได้ดีที่สุด แต่ตู้ที่อยู่ไกลที่สุดและไม่น่าจะได้รับผลจากไฟดวงนั้นอย่างเต็มที่ก็สามารถทำให้ปลาหายตาตกได้เช่นกัน

ลองพิจารณาบทความนี้แล้วนำไปปรับใช้กับบริเวณบ้านที่ตั้งตู้ปลาดูก็ได้นะครับ บางทีมันอาจช่วยผู้มีปัญหาได้ไม่มากก็น้อย
แหล่งที่มา http://www.arowanacafe.com/articles/view.php?section=1&id=86
ขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
http://www.arowana-asia.com/ เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว

เทคนิค การลงปลา อะโรวาน่า (ขนาดใหญ่) เพื่อเลี้ยงรวม

วันนี้ผมจะมานำเสนอแนวทางการรวมปลาอะโรวาน่าของผมครับ

หลายคนคงยังไม่รู้ หลังบ้านผมได้เนรมิตบ่อปลาขนาด 6x3 เมตรขึ้นมาเมื่อกลางปี 2549

แล้วเสร็จและเริ่มปฎิบัติการล่าฝันตั้งแต่เดือนตุลาคม

ด้วยการลงปลาอะโรวาน่าทองอินโดขนาดใหญ่เลี้ยงรวมกันจำนวน 9 ตัว





แบบจำลองบ่อ



ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการลงปลา

ขอพูดเรื่องการสร้างบ่อสักเล็กน้อยนะครับ

การออกแบบก่อสร้าง ขั้นตอน ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย ฯลฯ





ภาพบ่อกรอง จากด้านข้าง



ดูการออกแบบบ่อกรองกันบ้าง...







จากพื้นที่ที่เล็งแล้วเล็งอีกๆๆๆๆ จากหน้าบ้าน มาข้างบ้าน มาหลังบ้าน

คิดไตร่ตรองอยู่นาน สรุปคำตอบก็ไปอยู่ที่หลังบ้าน









ด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่าง หลักๆก็คือ บ่อนี้ผมจะสร้างเป็นบ่อแบบก่อ

เนื่องมาจาก บ่อใหม่นี้ตั้งใจให้สามารถดูปลาแบบ side view ได้ด้วย

บ่อก่อจึงเป็นคำตอบที่เหมาะในการติดตั้งกระจกไว้ชมปลาจากด้านข้าง









การดูปลาอะโรวาน่าจากด้านข้าง จะช่วยให้เราศึกษาพฤติกรรมการอยู่รวมกันได้ง่าย

สังเกตอาการผิดปกติต่างๆได้ดี รวมไปถึงอาการป่วย

หรือบาดเจ็บจากการทะเลาะวิวาทกันได้อย่างใกล้ชิด

ฉะนั้น ที่บ้านผมจึงลงความเห็นกันว่าควรไปสร้างหลบอยู่หลังบ้าน

เพื่อไม่ให้เสียภูมิทัศน์ของบ้าน บวกกับตรงจุดนั้นเป็นส่วนที่เงียบสงบที่สุดในบ้าน

เหมาะสำหรับการจู๋จี๋ดู๋ดี๋ผสมพันธุ์กันเป็นที่สุด เห่อะเห่อะ ^_^

นอกจากนี้ ทำเลตรงนี้ยังมีแสงแดดส่องไม่มากจนเกินไปนัก

เนื่องจากตัวบ้านนั้นช่วยบังแสงแดดได้เป็นอย่างดี









อ่อ ลืมบอกไปว่า การเลือกทำเลในการก่อสร้างนั้น เป็นสิ่งสำคัญมากๆนะครับ

ขอให้คิดให้ดี ใช้เวลาทบทวนให้มั่นใจ ยิ่งโดยเฉพาะบ้านที่มีพื้นที่จำกัด

เพราะบ่อปลานี้จะต้องอยู่กับเราอีกนาน สร้างแล้วสร้างเลย

ไม่เหมือนตู้ปลา ที่จะวางตรงไหนหรือย้ายไปมาได้

ครับ และเมื่อได้ทำเลที่คิดว่าโคเอที่สุดแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการออกแบบ

บอกได้เลยครับว่า การออกแบบเอง การคุมงานก่อสร้างเอง

ช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้เป็นเท่าตัว!!!!!

บ่อผมขนาด 6x2.5x1 เมตร (ยxกxส) รวมปริมาณน้ำได้ราวๆ 15 ตัน

ถือว่าเป็นบ่อที่ค่อนข้างเล็ก แต่ก็พอเหมาะกับงบประมาณของผมที่มีอยู่ในกระเป๋า

เพราะการสร้างข้ามขนาดนี้ไป ตัวเลขจะกระโดดไปอีกเยอะเลย

บอกไปไม่มีใครเชื่อแน่เลย บ่อนี้ผมลงทุนไปน้อยมาก หุหุ









การที่จะคุมตัวเลขให้ได้นั้น ต้องทำให้ตัวบ่อมีความสูงไม่มากจนเกินไปนัก

เมื่อความสูงของบ่อไม่มาก ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องก่อผนังบ่อแบบหล่อ

เพราะการสร้างโครงสร้างด้วยผนังแบบหล่อนั้น

จะทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับบ่อขนาดนี้ขึ้นไปทะลุแสนอย่างแน่นอน

บ่อผมเลือกการก่อสร้างแบบก่ออิฐมอญแถวเดียว ฉาบปูน และขัดมัน (เบสิคสุดๆ)

แต่มีผนังด้านหนึ่งที่ทำเป็นแบบหล่อ นั่นก็คือด้านหน้าบ่อ

เพื่อที่ให้การติดตั้งกระจกเป็นไปด้วยความแข็งแรงและปลอดภัย









เมื่อดีไซน์บ่อให้ไฉไลแล้ว ก็หาผู้รับเหมามาทำ งานนี้ได้มืออาชีพมาทำ

เป็นช่างก่อสร้างแถวบ้านที่รับทำสระว่ายน้ำและบ่อปลาโดยตรง

ก็ง่ายหน่อยในการคุยรายละเอียดต่างๆในการก่อสร้าง

(บ่อปลาคาร์ฟผมก่อนนี้ ตอนนั้นต้องยอมรับว่าตัวเองยังมีประสบการณ์ค่อนข้างน้อย

ไปรับเอาช่างสร้างบ้านมาทำ ตอนนั้นต้องปวดหัวกันทุกวันเลย เฮ้ออ...)









เมื่อได้ช่างรับเหมามา ก็เป็นอันเสร็จพิธี ผมแทบไม่ต้องยุ่งอะไรเลย

เลิกจากทำงานมาตอนเย็น ผมก็จะมาเดินตรวจงาน

ทุกเช้าก็จะมาประชุมงานคุยงานกัน บ่อนี้สร้างง่ายและสบายมากเลย

ขอย้ำ ช่างผู้มีประสบการณ์เป็นเรื่องสำคัญมากมากกกกก ได้ช่างดีมีชัยไปกว่าครึ่ง หุหุ

เริ่มด้วยการปรับพื้นที่ ลงเสาเข็ม เทพื้น ก่อผนัง ฉาบปูน ฯลฯ

รวมระยะเวลาการก่อสร้าง 10 กว่าวันเท่านั้นเอง

แต่ขั้นตอนการติดตั้งกระจกและรอให้ซิลิโคนแห้งพร้อมใช้งานนี่สิ อีกเป็นเดือน...

สรุปค่าใช้จ่ายของบ่อนี้ ถูกกว่าซื้อตู้ 84x30x30 ซะอีก หุหุ ^_^









เมื่อทุกอย่างพร้อมสรรพ สิ่งต่อมาก็คือการรอ

ด้วยการใส่น้ำให้เต็มบ่อ เพื่อให้ปูนขับสารต่างๆออกมาให้หมด

คนส่วนใหญ่ตกม้าตายจากจุดนี้ เพราะพอมีบ่อ ก็อยากจะรีบเอาปลามาลงกันเร็วๆ

ทำให้ปลาเสียหาย เจ็บป่วยกันไปก็มี

บ่อนี้ผมแช่น้ำอยู่เดือนกว่า รอจนชัวร์จริงๆ

ตรวจสอบด้วยการเอาปลาตะเพียนลงไปเทส

เมื่อตะเพียนอยู่ได้ อะโรวาน่าก็ย่อมอยู่ได้แน่นอน...









มาถึงเรื่องสำคัญกันแล้ว นั่นก็คือการลงปลารวมกันนั้นเอง

ในกรณีที่ซื้อปลาขนาดเล็กมา แล้วนำมาเลี้ยงรวมกัน

ขั้นตอนหรือเทคนิดต่างๆก็คงไม่มีอะไรมากนัก

ปลาเล็กมักไม่ร้ายกันจนกันถึงตาย อย่างมากก็เจ็บนิดหน่อย

ซึ่งจริงๆแล้ว แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ดี ปลอดภัยและง่ายกว่ามาก

แต่คนส่วนใหญ่ชอบที่จะนำมาปลาขนาดใหญ่มารวมกันเลยมากกว่า

ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น.....

ซึ่งการทำแบบนี้มีโอกาสทำให้ปลาเสียหายจนถึงขั้นตายได้อย่างง่ายดาย

ปลาใหญ่ที่มีขนาดมากกว่า 20 นิ้วขึ้นไป เมื่อมีการต่อสู้กัน

การกัดกัน คงไม่เท่าไหร่ แต่ที่น่าห่วงก็คือการพุ่งเข้าชน!!!!!

ทีเดียวเข้าจังๆหล่ะก็ เตรียมถุงดำได้เลยครับ

ต้องบอกเลยว่าก่อนนี้เห็นมาหลายครั้ง

ไม่เชื่อไปถามผู้ที่เลี้ยงรวมกันมาเลยว่า

ก่อนนี้เคยทำปลาตายมาแล้วกันบ้างรึเปล่า?

ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกของการลงปลา!!!!!

ดังนั้นก่อนที่จะดำเนินการในครั้งนี้

ผมก็ได้เริ่มศึกษาและเก็บข้อมูลในเรื่องนี้มาพอสมควร

จึงอยากมาแบ่งปันประสบการณ์ความสำเร็จเร็จเล็กๆบางส่วนของผมให้กับเพื่อนกันครับ





ตัวนี้ขนาด 24 นิ้ว ถ่ายก่อนที่จะนำลงบ่อ



ข้อควรพิจารณาในการรวมปลาอะโรวาน่าขนาดใหญ่ มีดังต่อไปนี้ครับ

*****หมายเหตุ : บทความนี้เฉพาะปลาตู้ที่เลี้ยงเดี่ยวและต้องการย้ายมาเลี้ยงรวมกันนะครับ

1.เพศของปลา

สิ่งแรกที่ผมว่าสำคัญมากที่สุด นั่นก็คือการดูเพศปลาครับ

การจับใส่ไปรวมกันมั่วๆคงไม่ใช่แน่นอน

การมีแต่ปลาเพศเมีย หรือการมีน้อยไป ย่อมไม่ใช่เรื่องดีแน่

เรื่องตลกมีอยู่ว่า ปัจจุบันหาปลาตัวเมียขนาดใหญ่ค่อนข้างยาก

เพราะสีสันและรูปทรงของปลาตัวผู้ มีความสวยโดดเด่นกว่าตัวเมีย

ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่จึงมีแต่ปลาตัวผู้ไว้ในครอบครอง

ไอ้ครั้นจะไปหาตัวเมียใหญ่ๆนั้น แทบไม่เจอ เหอๆๆ

ที่ยากไปกว่านั้นอีกก็คือ การหาตัวผู้หื่นๆเก่งๆ ฝีมือดี ลีลาเด็ดนั้น

ยากมากกกกกกกก ถึงยากที่สุด...

ในต่างประเทศปลาตัวผู้ที่เคยอมไข่และให้ลูกมาแล้ว จะเป็นปลาที่มีราคาสูงมาก

บ้านเราคงไม่มีใครขาย คงต้องปั้นต้องลุ้นกันเอง

หรือถ้ามีขาย ก็มักเป็นพวกชอบอมอย่างเดียว อมไม่คาย กลืนหายหม๊ดดด หุหุ

ฉะนั้นหากคิดจะเลี้ยงปลารวม สิ่งแรกที่ควรหมั่นศึกษา นั่นก็คือการดูเพศปลา...





มาฮาโตะคู่นี้ ก่อนที่จะลงบ่อก็จับคู่กันตั้งแต่ในตู้แล้ว...



2.สัดส่วนระหว่างปลาเพศผู้และปลาเพศเมีย

ข้อนี้ต้องขอบอกว่าไม่มีสูตรตายตัว

แต่ถ้าต้องการให้สมาชิกในบ่ออยู่กันแบบสงบสุขหน่อย มีการทะเลาะกันน้อยๆ

ก็ขอแนะนำว่าควรให้มีจำนวนปลาตัวเมียมากกว่าตัวผู้

ก็เนื่องมาจากโดยธรรมชาติของนิสัยปลาตัวผู้ จะดุร้ายกว่าเพศเมียนั้นเอง

เหมือนบ่อผม เน้นตัวเมีย จึงอยู่กันแบบปรองดองมาจนถึงทุกวันนี้

แต่กลับกัน ยิ่งเสี่ยง โอกาสสำเร็จก็จะมีมาก การมีปลาเพศผู้เยอะๆ

ย่อมเพิ่มโอกาสในการจับคู่ การอมไข่ มากยิ่งขึ้น เป็นการเสมือนธรรมชาติ





ดูหน้ากันชัดๆ



3.จำนวนของปลาต้องสัมพันธ์กับพื้นที่ในบ่อ

โดยทั่วไป มักคำนวณจากปลา 1 ตัว ต่อปริมาณน้ำ 1 ตันครึ่ง (เป็นอย่างน้อย)

อย่างเช่น บ่อผมปริมาณน้ำ 15 ตัน 15/1.5 = 10 ตัว เป็นต้น

แต่ผมเองอยากให้ปลาผมอยู่กันแบบสบายๆ เลยตกลงที่ 5 ตัว

ว่ายกันสบายเลย และที่สำคัญระบบกรองไม่ต้องทำงานหนัก

การดูแลคุณภาพน้ำก็ทำได้ง่าย เลี้ยงปลาบ่อนี้ ชิวสุดๆครับ

หน้าที่ผมมีเพียงโยนเนื้อกุ้งหั่นชิ้นเช้า-เย็นอย่างเดียว หุหุ





ดูเนื้อเกล็ดกันบ้าง...



4.เลือกปลาที่สมบูรณ์และแข็งแรงเท่านั้น

คนส่วนใหญ่มักชอบเลือกซื้อปลาตำหนิมาเพื่อเลี้ยงรวม

หาปลาราคาย่อมเยาว์มา นั้นหมายความว่า

ปลาพวกนี้ส่วนใหญ่มักจะอ่อนแอและมีสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร

ใครที่คิดเช่นนี้ คิดดูใหม่นะครับ ก่อนนี้ผมก็เคยคิดที่จะหาเฉพาะปลาถูกๆมา

ตอนหลังเริ่มมาคิดได้ เพราะนอกจากสุขภาพที่ดีของปลาเราแล้ว

การที่จะเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์นั้น ก็ควรจะต้องคัดสรรสุดยอดปลามาด้วยซ้ำไป

มาเพาะพันธุ์ทั้งที จะเอาปลาขี้เหล่มาทำไมหล่ะ จริงมั้ยครับ?

เพิ่มโอกาสคุณภาพของลูกปลาที่เราจะได้ในอนาคต(ถ้าได้นะครับ ฮาฮาฮา)

(หมายเหตุ*** แต่ถ้าตำหนิทั่วไปที่ไม่มีผลต่อสุขภาพปลา ก็คงไม่เป็นอะไรครับ)









5.ลงปลาพร้อมกันทุกตัว

การลงปลาอะโรวาน่ารวมกันนั้น ไม่ใช่อยากจะซื้อมาลงมาเพิ่มเมื่อไหร่ก็ทำ

ควรลงพร้อมกันทีเดียว เพื่อลดโอกาสในการทะเลาะวิวาท

เพราะหากมีปลาเก่าที่อยู่อาศัยมาก่อน มันก็จะวางตัวเป็นเจ้าถิ่น

ทำให้มีปากเสียงกับผู้มาใหม่ได้อย่างง่ายดาย

การลงปลาพร้อมๆกันทำให้ต่างฝ่ายต่างมึนงงกับสภาพแวดล้อมใหม่

และลดความก้าวร้าวลงไปได้มากทีเดียว





จริงๆแล้วที่ด้านหน้าบ่อจะมีรั้วกันปลากระโดดนะครับ เวลาที่ชมป



6.วางแผนการเรื่องขนย้ายปลาให้ดี

ควรวางแผนเรื่องนี้ให้ดี

ระยะเวลาที่ปลาแต่ละตัวต้องเดินทางควรให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

กรณีของผม ผมเพิ่มตู้ใหญ่ที่บ้านเลย 5 ใบ

แล้วนำปลามาเลี้ยง มาพักเก็บตัวให้สมบูรณ์(พร้อมกันทุกตัว)ก่อน

เมื่อพร้อม ปลาก็อยู่ในถุงเพียงครู่เดียวเท่านั้น

วิธีนี้จะลดโอกาสการสูญเสียได้มากทีเดียว

เพราะมีปลาจำนวนไม่น้อยที่เมื่อต้องเดินทาง ต้องอยู่ในถุงนานๆ

ก็จะเครียด และป่วยลงแบบฉับพลันเอาดื้อๆ

ซึ่งเมื่อมาโดนการกัดการชนจากเพื่อนใหม่ในบ่อเพียงเล็กน้อย

อาจทำให้ตายได้ง่ายๆเลยทีเดียว





เจ้า “ไลก้า” สุนัขเฝ้าบ่อ หุหุ



7.จับปลาและย้ายปลาอย่างรอบคอบและรัดกุมกว่าปกติ

ที่ว่าให้จับและขนย้ายปลาให้รอบคอบนั้น

ก็คือเราจะต้องย้ายปลาทั้งหมดให้นุ่มนวลและรัดกุมกว่าปกติมากๆๆๆๆๆ

เพราะกรณีนี้อาจเป็นเคสตกม้าตายได้

เนื่องจากบางทีเราเตรียมทุกอย่างไว้ดีแล้ว

แต่มาพลาดเรื่องการย้ายปลา บรรลัยแน่ครับ

ก็คือ ตอนที่จับปลานั้น ต้องทำแบบใจเย็นอย่างที่สุด

อย่าได้ไปเทียบกับการจับย้ายปลาจากตู้นู้นไปตู้นี้แบบทั่วไปเด็ดขาด

ขอให้เพิ่มความระมัดระวังเป็น 2 เท่า

อย่าให้ปลากระโดดสวนหรือโดดทะลุถุงลงมานอนพื้น หรือตกใจพุ่งชนตู้เด็ดขาด

เคสแบบนี้บอกได้เลยว่าปลาเครียดมาก ไม่ควรมารวมกันอย่างยิ่ง

กรณีนี้ขอแนะนำว่า สมมติว่าต้องการย้ายปลาใหญ่สัก 10 ตัวมาลงบ่อรวม

จับตัวที่ 1-9 จากตู้มาแล้ว ราบรื่นดีทุกอย่าง

แต่พอมาจับตัวที่ 10 แล้วดันออกอิทธิฤทธิ์ พุ่งทะลุถุงมานอนกับพื้น

เคสแบบนี้ถ้าเป็นผม ผมจะเอาเจ้า 9 ตัวแรก ปล่อยกลับตู้เดิมพวกมันเลยครับ

รออีกสัก 3-4 วันเป็นอย่างน้อย รอให้ตัวที่ 10 ฟื้นตัวและจิตใจอย่างเต็มที่ก่อน แล้วค่อยเอาใหม่

(หลายคนอาจบอก โห! ต้องขนาดนั้นเลยเหรอ จริงๆก็คงไม่ต้องขนาดนี้ก็ได้

แต่โดยส่วนตัวผมไม่เสี่ยงครับ สงสารชีวิตปลาของเราครับ

เราต้องลดโอกาสเสี่ยงทุกทางที่เราควบคุมได้ครับ)





กว่าจะได้ภาพนี้มา ถ่ายอยู่เหนื่อยเหมือนกัน



8.อดอาหารปลาให้นานกว่าปกติก่อนการเคลื่อนย้าย

การอดอาหารในปลาขนาดใหญ่นั้น เพียงแค่วันสองวันไม่พอแน่นอนครับ

ควรงดอาหารล่วงหน้า 5 วันเป็นอย่างน้อยนะครับ

เพราะการที่ในกระเพาะปลายังมีอาหารอยู่นั้น

จะทำให้ปลาต้องใช้พลังงานและออกซิเจนในร่างกายมากกว่าปกติ

ก็เพื่อในย่อยสลายอาหารในกระเพาะนั้นเอง

บวกกับระหว่างที่ปลาอยู่ในถุงขณะที่เคลื่อนย้ายนั้น

อาจจะสำรอกอาหารออกมา ทำให้น้ำในถุงเน่าได้ ปลาเราจะแย่เอานะครับ





ใครก็ไม่รู้ข้างล่างเจ้าบ่าวหล๊อหล่อ...คริคริ



9.รวมพลังมัจฉามิตร

วันที่เราลงปลา ห้ามเล่นบทพระเอกคนเดียวเด็ดขาด

เราไม่สามารถทำมันทุกอย่าง ตั้งแต่จับปลา ย้ายปลา ลงปลา ฯลฯ คนเดียวนะครับ

แม้จะทำได้ก็เถอะ แต่ประสิทธิภาพและระยะเวลานั้นย่อมสู้ช่วยกันทำหลายๆคนไม่ได้แน่นอน

ในการนี้ เราคงต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูงให้มาช่วยลงแขกกันหน่อย

เพราะการย้ายปลาใหญ่หลายๆตัว ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เหนื่อยและหนักแน่

แต่ก็ไม่ใช่ว่าสักแต่เอาเพื่อนที่ไหนมาก็ได้ เพราะเคสแบบนี้เป็นเคสพิเศษ

ผู้ที่มาช่วยควรเป็นเหล่ามัจฉามิตร เป็นเพื่อนที่เลี้ยงและมีประสบการณ์ในปลาอะโรวาน่ามาพอควร

เพื่อให้การทำงานในแต่ละขั้นตอนเป็นไปด้วยความราบรื่น

แล้วก็จบท้ายวันนั้นด้วยเบียร์สักหนึ่งลัง หรือเหล้าสักสองขวด แฮปปี้ครับ ^_^





อีกตัวที่เอาลงบ่อ ปัจจุบันนี้สีเข้มกว่านี้มากกกกก



10.ยาสลบไม่ต้องแล้ว

ข้ามไปเรื่องนึงครับ ก็คือในขั้นตอนของการจับปลานั้น

ในการย้ายปลาแบบนี้ หากเราไม่รู้จักปลาตัวนั้นเป็นอย่างดี

ยาสลบไม่ควรใช้นะครับ

เพราะถึงแม้ปลาจะตกใจดิ้นบ้างเล็กน้อย ครีบเดาะ หางหัก

ก็ยังดีกว่าแพ้ยาสลบ หรือโดนมอมหมดสติสตังค์ไป

แต่ถ้ารู้แน่ชัดถึงประวัติและปริมาณยาสลบที่เคยใช้ในปลาแต่ละตัวมาก่อน

ว่ามันไม่แพ้ ไม่สลบง่ายเกินไป ฯลฯ จะใช้ยาก็ตามใจครับ

แต่โดยส่วนตัว กรณีนี้ผมไม่ใช้ครับ...





เจ้า DDB (Deep Dark Blue)ไฮแบคตัวงาม



11.เช็คความแตกต่างของค่าน้ำ

อย่ามองข้ามเรื่องค่า PH ของน้ำครับ

การต่างกันมากของค่า PH ทำให้ปลาต้องปรับตัวมากกว่าปกติ

ดังนั้น เราควรดูแลน้ำในตู้ปลาแต่ละตัวอย่างดีเป็นพิเศษหน่อยในช่วงก่อนการย้ายปลา

ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้จนค่า PH ใกล้เคียงกับค่า PH ของน้ำในบ่อ

ให้ค่าน้ำในตู้ไม่ต่างจากค่าน้ำในบ่อมากนัก

และในวันที่ทำการย้ายปลานั้น ก็จะต้องทำการตรวจวัดค่า PH มาด้วย

แล้วเอาปากกาเมจิกเขียนที่ไว้ที่ถุงปลาแต่ละตัวเลย

เพื่อให้รู้ว่าปลาถุงไหนที่เราจะทำการปรับค่า PH นานเป็นพิเศษกว่าถุงอื่น

อ่อ ในบ่อสร้างใหม่นั้น ควรวัดค่าไนไตรท์บ่อยๆด้วยครับ

เพราะว่าระบบอาจจะยังเซ็ตตัวไม่สมบูรณ์มากนัก

อาจเกิดกรณีไนไตรท์สูงปรี๊ดแบบฉับพลันได้ง่ายๆ





บรรยากาศตอนที่ลงปลาวันแรก



12.ยิ่งมืดยิ่งดี

เรื่องเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยปลานั้น ควรเป็นในช่วงเวลากลางคืน

ก็เนื่องมาจากว่า ปลาอะโรวาน่าจะด้อยความสามารถในการมองเห็นในที่มืด

การที่ให้เค้าได้ปรับตัว ว่ายปรับสภาพร่างกาย ในค่ำคืนแรก

ก็จะลดโอกาสในการบาดเจ็บและทะเลาะกันในวันแรกได้เป็นอย่างดี

ก็เหมือนปล่อยให้คนสองคนไปต่อยกันในห้องมืด โอกาสต่อยกันหนักๆย่อมมีน้อย

การทำแบบนี้จะลดเปอร์เซ็นต์การพุ่งชนแบบแรงๆได้ 99% ครับ

เพราะส่วนใหญ่การสูญเสียมักเกิดขึ้นในวันแรกของการลงปลา





ดูสีเกล็ดเจ้า DDB ชัดๆอีกสักรูป



13.วันไหนดีน้า?

ผมขอแนะนำว่าวันที่ลงปลาควรเป็นวันในต้นสัปดาห์

ก็คือ คืนวันอาทิตย์ถึงวันพุธ

ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า หากปลาของเรามีการอาการบาดเจ็บรุนแรงจากการทำร้ายกัน

เมื่อสาหัสเกินที่เราจะดูแล วิธีที่จะช่วยเค้าได้ก็คงไม่พ้นการพาเค้าไปโรงพยาบาลครับ

ดังนั้น ก็ควรลงปลาในช่วงวันทำการของโรงพยาบาล

หากไปลงปลาเอาศุกร์-เสาร์ ความพร้อมของคุณหมอ ของรพ.ก็จะลดน้อยลงครับ





คืนแรก ทำน้ำให้ขุ่นเข้าไว้...



14.ลดระยะในการมองเห็นด้วยดินบัว

สูตรนี้ขออนุญาตก็อปปี้พี่เอมา ต้องยอมรับเลย ได้ผลดีทีเดียว

ก่อนปล่อยปลานั้น แวะร้านขายต้นไม้แถวบ้าน แล้วซื้อดินบัวมาสัก 1 ก้อนนะครับ

ก้อนนึง 10 บาท ขนาดก็ราวๆจานข้าว

แล้วก็นำมาละลายน้ำ จนกลายเป็นขี้โคลน แล้วเทลงบ่อเลยครับ

ยิ่งเยอะเท่าไหร่ยิ่งดี ผมคงบอกสัดส่วนการใช้ไม่ได้

อันนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละท่าน

(ของผมน้ำ 15 ตันใช้ประมาณครึ่งก้อน)

แต่ของผมมีหลักก็คือ ใช้การวัดจากระยะการมองเห็น…..

ในสัปดาห์แรกของการลงปลา ผมกำหนดระยะการมองเห็นไว้ที่ 1 เมตร นั้นหมายความว่า

น้ำในบ่อจะขุ่นคลั่กเลย มองอะไรไม่เห็นเลยนะครับ

ถ้าเอามือลงไปในน้ำ ก็ให้ขุ่นขนาดที่ที่ระยะ 1 เมตร มองไม่เห็นมือตัวเองเลย (ขุ่นมาก)

วิธีนี้ทำให้ลดโอกาสการวางมวยแบบจองล้างจองผลาญได้เป็นอย่างดี

อีกทั้งการพุ่งชนแบบตอปิโดก็จะเกิดขึ้นน้อยมากครับ

เพราะเหล่าปลาในบ่อ จะมองไม่ค่อยเห็นกันสักเท่าไหร่

วิธีนี้เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ ที่ปกติน้ำในหนองคลองบึงต่างๆก็ขุ่นแบบนี้อยู่แล้ว

การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเครียดของปลาไปได้มากเลยทีเดียว

อ่อ แล้วก็ไม่ต้องห่วงว่าน้ำจะดูขุ่นจะดูน่าเกลียดนะครับ

เพียงไม่นาน ประมาณ 2-4 สัปดาห์น้ำในบ่อก็จะกลับมาใสปิ๊งเหมือนเดิม ^_^





เจ้า DDB อีกที...



15.เตรียมตาข่ายกกั้นคอกเพื่อแยกปลา

ในการนี้ เราต้องเผื่อล่วงหน้าสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเอาไว้

บางทีอาจจะมีบางตัวที่เจ็บหนัก ที่เครียดจัด ดุก้าวร้าวจัด ฯลฯ

เราก็คงจำเป็นที่จะต้องแยกเค้าออกมาจากลุ่ม

ซึ่งวิธีที่ง่ายและเป็นที่นิยมก็คือการนำท่อ PVC และตาข่ายพลาสติกมาทำเป็นคอก

เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็นำคอกลงไปกันปลาในบ่อได้อย่างทันที

เราจะไม่จับปลาขึ้นมาแยกรักษาในตู้นะครับ

การทำแบบนี้ ทำให้การกลับไปรวมฝูงอีกครั้งลำบากมาก

เพราะการที่เค้าได้อยู่ในบ่อโดยการกั้นคอก

จะทำปลาตัวอื่นได้ทำความรู้จักกันอยู่ตลอดเวลา

เมื่อเอาที่กั้นคอกออก ก็ง่ายต่อการยอมรับในการเข้าฝูง

อีกทั้งน้ำในตู้กับน้ำในบ่อนั้นก็ไม่เหมือนกัน เราไม่ควรให้เค้าต้องปรับตัวไปมาหลายครั้ง

คือถ้าตั้งใจแล้วว่าจะเลี้ยงรวม เราต้องให้เค้าปรับตัวเข้าหาบ่อให้ได้

การนำปลากลับขึ้นตู้ เป็นการถอยหลังที่น่ากลัว...

ถ้าท่านจับปลาที่ป่วยสาหัสในวันแรกของการรวมปลาไปลงตู้หล่ะก็

ผมรับรองว่าอาการจะหนักไปมากกว่าเดิมซะอีก ห้ามครับห้าม





เจ้ายักษ์ใหญ่ประจำบ่อ...



NOTE*****อาการผิดปกติที่มักพบใน 1-3 ชั่วโมงแรกของการลงปลา

ส่วนใหญ่จะมี 2 อย่างที่พบกันอยู่บ่อยครั้ง นั้นก็คืออาการหัวทิ่ม และขับเมือก

วิธีการแก้ไขมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับปลาแต่ละตัว สาเหตุและอาการ ณ ขณะนั้น

ในที่นี้ไม่ขอกล่าวถึง เนื่องจากมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมาก





คืนแรก เก็บภาพไว้นิด ก่อนปิดไฟให้มืดเพื่อให้ปลาได้พัก



16.เตรียมตู้ให้ว่างและวางใกล้ๆ

ในกรณีที่ปลาในบ่อไม่สมานฉันท์กันเลย

ชนิดที่ว่า หัวเด็ดตีนขาดชาตินี้ไม่ขออยู่ร่วมกัน จะฟัดกันถึงตายลูกเดียว

แบบนี้ผู้เลี้ยงก็คงต้องรับ อย่าฝืน เริ่มจากแยกพักในคอกจนอาการดูดีขึ้น

จากนั้นก็คงต้องนำเค้ากลับขึ้นมาเลี้ยงในตู้ต่อไป แต่...

วิธีที่ดีที่สุด คือเราต้องเตรียมตู้หรือถังไฟเบอร์ให้พร้อม

ด้วยการวางตำแหน่งตู้ให้ไม่ไกลจากบ่อมากนัก

สิ่งที่เรามองข้ามไปก็คือ การดูดถ่ายน้ำจากบ่อไปใช้ในตู้ให้เต็ม!

เพื่อให้การปรับตัวและความเครียดของปลาที่ป่วยสาหัสเกิดขึ้นน้อยที่สุด





มาฮาโตะตัวเด็ด



17.ยาต่างๆต้องให้พร้อม

เมื่อปลามีการบาดเจ็บทั่วไป เช่น หางแตก ครีบแหว่ง เกล็ดหลุด หนวดขาด เหงือกแหว่ง ฯลฯ

กรณีแบบนี้ เราไม่มีความจำต้องแยกปลาออกมารักษา

เราเพียงดูแลคุณภาพน้ำในบ่อ และรอเวลาฟื้นตัว ก็เป็นสิ่งที่เพียงพอ

แต่หากถึงกรณีหงายท้อง มีแผลฉกรรจ์ ฯลฯ ต้องกั้นคอก หรือจับกลับขึ้นตู้

กรณีหนักๆแบบนี้ คงต้องใช้ยาปฏิชีวนะต่างๆ เพื่อช่วยให้อาการทุเลาลงโดยเร็ว

ดังนั้นยารักษาต่างๆ ก็ต้องเตรียมไว้ให้ครบครัน เผื่อไว้ให้หมด เหลือดีกว่าขาด...





“ดูๆๆๆ จ้องมันทั้งวัน ส่องหาไรค่ะ?” เมียผมถาม ฮาฮาฮา...



18.มีเวลาเฝ้าดูปลาแบบใกล้ชิดในช่วงสัปดาห์แรก

ในช่วงแรกของการอยู่ร่วมกันนั้น ความรุนแรงแบบคาดไม่ถึง เกิดขึ้นได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง

แต่หากเราได้อยู่เฝ้าสังเกตอาการและพฤติกรรมของปลาทุกตัวอย่างใกล้ชิดแล้วหล่ะก็

จะลดโอกาสในการสูญเสียไปได้มากเลยทีเดียว

เพราะเมื่อมีอะไรเกิดขึ้น เราจะทำการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

ตอนที่ผมจะลงปลา ผมกำหนดวันไว้ล่วงหน้าเป็นเดือนเลยนะครับ

กางปฎิทินเลยครับ หาวันหยุดยาว 3-4 วัน แล้วเราก็ลาพักร้อนเพิ่มต่ออีกหน่อย

สบายครับ หยุดงานยาวโลด มีเวลาให้เหล่าปลาสุดที่เลิฟอย่างเต็มที่ อิอิ

ในที่นี้ คงไม่ต้องถึงขนาดนอนเฝ้าบ่อ ขอให้ตอนกลางคืนมืดสนิด ก็คงไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

เท่าที่ผมสังเกต ในช่วง 2 สัปดาห์แรก เวลาในช่วงเช้ามืด

จะเป็นช่วงเวลาที่ปลาก้าวร้าวและทำร้ายกันมากที่สุด

คงต้องดูแลใกล้ชิดกันหน่อยนะครับ





ตอนนี้ขนาดก็อยู่กันราวๆ 24 นิ้วแล่ะ ปีหน้าขอเป็น 27 นิ้วละกั



19.กระชอนใหญ่ควรมี

ในการแก้ปัญหาต่างๆ การจับปลา ต้อนปลา ในบ่อที่มีพื้นที่กว้างๆ

กระชอนขนาดใหญ่เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น

เราควรจะหาซื้อมาประจำบ้านเอาไว้

แนำนำว่าควรเป็นแบบผ้าขาวที่มีรูพรุน

กระชอนแบบผ้านี้จะนุ่มมาก ไม่ทำอันตรายต่อตัวปลา

ถ้าในปลาที่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก เราสามารถใช้กระชอนแบบนี้

ตักปลาขึ้นมาโดยไม่เกิดความเสียหายต่อตัวปลาเลยด้วยซ้ำไป







ปลาลงบ่อ เรื่องสีหายห่วง เข้มเอาดำเอา อาบแดดมันทั้งวัน เหอๆ



20.ทำใจเปิดรับความผิดหวังไว้ด้วย

แม้ทุกอย่างเราพยายามควบคุมอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม

แต่ที่ผ่านมาก็มักมีความผิดหวังเกิดขึ้นอยู่ตลอดมา

เวลามีความเสียหายหรือสูญเสียเกิดขึ้น หากเราได้ทำใจล่วงหน้าไว้แต่เนิ่นๆ

เราก็เอาชนะและผ่านช่วงเวลานั้นไปไม่ยากนัก



“อย่าคิดว่าวันนี้ปลาในบ่ออยู่รวมกันได้ดี และมันสมานฉันท์แบบนี้ได้ตลอดไป

เพราะว่าปลาชนิดนี้มีความเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูที่กระตุ้นการผสมพันธ์

ปลาบางตัวเห็นเป็นลูกไล่มาเป็นปี อาจจะกลับไปเป็นผู้ไล่กัดชาวบ้านเขาก็ได้ในวันหนึ่ง

นอกจากนี้ผู้เลี้ยงต้องสร้างคำว่า Limit เป็นมาตรฐานของตัวเองไว้

ในที่นี้หมายถึงว่า เมื่อปลากัดกัน เราจะยอมทนได้ถึงช่วงไหน?

จะต้องแยกปลาออกมารักษาเมื่อไหร่?

บางครั้ง ถ้าพ้นจุดที่เรามี Limit นี้ไว้ เช้าวันรุ่งขึ้นปลาอาจตายได้นะครับ” พี่เอไลท์ เคยว่าไว้





กระเบื้องสีเจ็บปวด (แฟนผมบังคับบบบบบ) ^_^’



ปลาในบ่อของผมเองนั้น ถือว่าโชคดีหน่อย

ทุกตัวรักใคร่ปรองดองกันดี ไม่มีการสูญเสียเกิดขึ้น

ถือเป็นความสำเร็จเล็กๆของผมที่คิดว่าควรออกมาบอกเล่าเอาไว้

เผื่อมีใครจะสนใจจะนำไปปรับใช้ ก็ลองดูครับ

ขอย้ำว่า ที่ว่ามาทั้ง 20 ข้อ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง 100%

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางเป็นความรู้อันน้อยนิดของผม

เอาเป็นว่า หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆไม่มากก็น้อยนะครับ ^_^





มาฮาโตะอีกสักรูป...



ก่อนนี้ก็ผมเคยนั่งคิดอยู่ว่า จะทำเป็นกระทู้ดีมั้ย?

เพราะท่านผู้อ่าน ใช้เวลาเพียง 10 นาที ก็จะได้รับข้อมูลที่ผมสั่งสมมาหลายปี

มันช่างง่ายเสียเหลือเกิน!!!!!

แต่บอกตามตรง ผมอยากแบ่งปันและถ่ายทอดความรู้อันน้อยนิดของผมแบบไม่เม้ม

เพื่อเป็นการนำพาวงการปลาอะโรวาน่าในบ้านเราให้พัฒนาไปด้วยกัน

หากต่างคนต่างหวงวิชา ต่างคนต่างทำ ผมว่าพวกเราคงไม่ไปถึงไหน

ผมอยากให้เราช่วยกันแลกเปลี่ยน ศึกษาและพัฒนาไปร่วมกัน

มันน่าจะทำให้วงการอะโรวาน่าบ้านเราขยายตัวไปได้มากกว่าทุกวันนี้

เหมือนกับที่ก่อนนี้ผมถ่ายรูปมาลง แล้วทุกท่านก็บอกชอบ ฯลฯ

พอผมมาแนะนำเทคนิคการถ่ายต่างๆนิดเดียว

เดี๋ยวนี้ถ่ายกันสวยกว่าผมกันไปหมดแล้ว ^_^’

ก็ทำให้เว็บมีสีสันมากขึ้น มีภาพปลาให้ชมกันมากขึ้น

ทุกคนสนุกสนานขึ้น ก็ทำให้การเลี้ยงปลาของเรามีความสุขมากขึ้น

นี่แหล่ะสิ่งที่ผมกำลังจะบอก เราต้องร่วมกันสร้างสรรค์...

อ่อ...ใครที่ยังไม่เคยอ่านบทความสอนเทคนิคการถ่ายภาพปลา

แหล่งที่มา http://www.arowanacafe.com/articles/view.php?section=6&id=84
ขอขอบคุณ http://www.hime-shopping.com/
http://www.arowana-asia.com/ เว็บอโรวาน่า เว็บน้องใหม่พร้อมให้บริการแล้ว

ปลามังกร ข่าวสารจากทุกมุมโลก

Add to Google Reader or Homepage